Page 5 - kpiebook62009
P. 5
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเข้ารับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2562
I บทคัดย่อ I
โครงการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เพื่อเข้ารับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี
2562 เป็นการศึกษาวิจัยที่มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการสำรวจและศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารงานและ
โครงการ/กิจกรรม การดำเนินงานของ อปท. ที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นเลิศในด้านความโปร่งใสและ
ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน, ด้านการเสริมสร้างสันติสุขและความสมานฉันท์ และด้าน
การเสริมสร้างเครือข่ายรัฐ เอกชน และประชาสังคม สำหรับใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาการมอบ
รางวัลพระปกเกล้าและใบประกาศเกียรติคุณ โดยการพัฒนาตัวชี้วัดการประเมิน อปท. เป็นกรอบสำคัญ
ทั้งนี้มีวิธีการศึกษาโดยการประเมินขั้นต้นตามเกณฑ์ชี้วัดขั้นพื้นฐานและการติดตามประเมินผลเชิงลึกด้วย
การลงพื้นที่ภาคสนาม สำหรับ อปท. ที่ผ่านเกณฑ์ค่าคะแนนตามที่กำหนดจะได้รับการประเมินโดย
คณะกรรมการต่อไป กระบวนการศึกษาวิจัยเป็นไปตามหลักการวิจัยประเมินผล ที่ดำเนินการประเมินผล
อปท. ที่เข้ารับการพิจารณารางวัลพระปกเกล้ารอบปีงบประมาณ พ.ศ.2561 โดยนำผลปฏิบัติงานมา
พิจารณาตามกรอบตัวชี้วัดที่จัดทำขึ้น และให้เข้ารับการพิจารณารางวัลตามลำดับ ซึ่งกรอบเนื้อหาตัวชี้วัด
การประเมินยึดหลักภารกิจตามอำนาจหน้าที่ของ อปท. เป็นฐานในการกำหนดตัวชี้วัด โดยแบ่งออกเป็น
ตัวชี้วัดขั้นพื้นฐาน และตัวชี้วัดขั้นพัฒนา วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ (1) การพิจารณา
ขั้นต้นบนฐานการปฏิบัติงานของ อปท.นั้นๆ (2) การพิจารณาเชิงลึกผ่านข้อมูลภาคสนาม ผลการศึกษา
พบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมดสมัครเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 280 แห่ง ได้รับรางวัลความเป็น
เลิศ จำนวน 33 แห่ง โดย ประเภทที่ 1 ความเป็นเลิศด้านความโปร่งใสและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของ
ประชาชน จำนวน 13 แห่ง ประเภทที่ 2 ความเป็นเลิศด้านการเสริมสร้างสันติสุขและความสมานฉันท์
จำนวน 4 แห่ง ประเภทที่ 3 ความเป็นเลิศด้านการเสริมสร้างเครือข่ายรัฐ เอกชน และประชาสังคม จำนวน
16 แห่ง ซึ่งมีข้อค้นพบในการพิจารณารางวัลพระปกเกล้า นั่นคือ อปท. มีพัฒนาการด้านความโปร่งใส
และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน, ด้านการเสริมสร้างสันติสุขและความสมานฉันท์ และด้าน
การเสริมสร้างเครือข่ายรัฐ เอกชน และประชาสังคม โดยพบว่า มีการพัฒนาระบบและกลไกใน
การขับเคลื่อนทั้งด้านความโปร่งใสและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน, การเสริมสร้างสันติสุขและ
ความสมานฉันท์ และ การเสริมสร้างเครือข่ายรัฐ เอกชน และประชาสังคม ทั้งนี้ข้อท้าทายสำคัญ คือ
“การจะพัฒนารางวัลพระปกเกล้าให้เป็นพื้นที่ในการสร้างเรียนรู้การกระจายอำนาจการปกครองสู่ท้องถิ่น
โดยการสะท้อนบทเรียนเกี่ยวกับวัฒนะแห่ง อปท. บนฐานความโปร่งใสและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของ
ประชาชน การเสริมสร้างสันติสุขและความสมานฉันท์ ตลอดจนการเสริมสร้างเครือข่ายรัฐ เอกชน และ
ประชาสังคมมากกว่าการเป็นพื้นที่การแข่งขัน”
คำสำคัญ: องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, รางวัลพระปกเกล้า, ความเป็นเลิศในด้านความโปร่งใสและส่งเสริม
การมีส่วนร่วมของประชาชน, ด้านการเสริมสร้างสันติสุขและความสมานฉันท์, ด้านการเสริมสร้าง
เครือข่ายรัฐ เอกชน และประชาสังคม
ข