Page 336 - kpiebook62009
P. 336
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเข้ารับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2562
สังคมเป็นเครือข่ายอาสาสมัครกู้ชีพ-กู้ภัยจังหวัดสุพรรณบุรี เครือข่ายอาสาสมัครป้องกันพลเรือนจังหวัด
สุพรรณบุรี ซึ่งผลจากการเกิดโครงการนี้ทำให้จำนวนอุบัติเหตุลดลงจนสถิติกายเป็น 0 เนื่องจากมีหน่วงาย
เครือข่ายคอยช่วยเหลือและประชาชนยังปฏิบัติตามกฎจราจรและยังมีการใส่หมวกกันนอกทุกคน
2. โครงการธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกรตามพระราชดำริ เป็นโครงการอันเนื่องจาก
พระราชดำริ ที่จะช่วยเหลือเกษตรกรยากจนที่ไม่มีโค-กระบือเป็นของตนเอง หรือดำเนินการเพื่อให้
เกษตรกรมีโอกาสได้เป็นเจ้าของโค-กระบือเพื่อใช้แรงงาน และเนื่องจากต้องการเพิ่มปริมาณโค-กระบือใน
พื้นที่ เพื่อเสริมสร้างรายได้จากอาชีพการเลี้ยงสัตว์ ซึ่งโครงการธนาคารโค-กระบือจะให้เกษตรกรยืมสัตว์
เพื่อการผลิต คือการให้เกษตรกรผู้ยากจนยืมแม่โคหรืแม่กระบือของ ธคก. โดยมีเงื่อนไขว่าเมื่อลูกโค-
กระบือตัวแรกอายุครบ18เดือนแล้ว ให้เกษตรกรผู้ยืมส่งลูกโคหรือลูกกระบือคือ ธคก. เพื่อให้ปศุสัตว์
จังหวัดนำไปให้บริการแก่เกษตรกรรายอื่นหรือจำหน่ายเพื่อนำเงินส่ง ธคก. ส่วนลูกโคหรือกระบือที่เกิดใหม่
ในลำดับถัดไปจะตกเป็นของเกษตรกรผู้ยืม เมื่อสัญญายืมมีอายุครบ 5 ปี ให้แม้โคหรือกระบือดังกล่าว
ตกเป็นของผู้ยืม พร้อมลูกโคกระบือที่เกิดใหม่ในลำดับที่ 2 3 4.... ซึ่งทางอบตได้ดำเนินโครงการร่วมกับ
เครือข่ายทั้งส่วนราชการ เช่น สำนักงานปศุสัตว์จ.สุพรรณบุรี และสำนักงานปศุสัตว์อำเภออู่มทอง และ
ภาคประชาสังคม เช่น กลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์โครงการธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกรตามพระราชดำริตำบล
พลับพลาไชย และอาสาปศุสัตว์
3. โครงการการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการการเรียนการสอนภายใต้โรงเรียนผู้สูงอายุ
ตำบลพลับพลาไชย จุดเริ่มต้นคือพมจ.สุพรรณบุรีได้พิจารณาคัดเลือกก่อสร้างศูนย์พัฒนาคุณภาพและ
ส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลพลับพลาไชย ณ อบต.พลับพลาไชย เนื่องจากเห็นว่าเป็นองค์การที่มุ่งพัฒนา
คุณภาพชีวิตประชาชน มีศักยภาพสามารถชี้นำภาคีเครือข่ายร่วมในการทำงานได้เป็นอย่างดี ซึ่งสอดคล้อง
กับวิทัศน์ของอบต.พลับพลาไชย “พลับพลาไชยเป็นตำบลน่าอยู่ ชุมชนเข้มแข็ง คุณภาพชีวิตดี ภาคีมีส่วน
ร่วม สืบสานประเพณีวัฒนธรรม น้อมนำเศรษฐกิจพอเพียง” จึงมีการบริหารจัดการเรียนการสอนภายใต้
โรงเรียนผู้สูงอายุตำบลพลับพลาไชยขึ้น โดยการบริหารจัดการนั้นเป็นการจัดการระดับตำบล และทุกด้าน
ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาคุณภาพสุขภาพ ด้านการส่งเสริมอาชีพ ด้านพระพุทธศาสนา ด้านสังคม ด้าน
ภูมิปัญญาท้องถิ่น ล้วนแล้วแต่ต้องใช้ผู้มีความรู้ความสามารถแขนงต่างๆ ซึ่งจำเป็นต้องประสานของความ
ร่วมมือจากองค์กรภาคีเครือข่ายที่มีความเชี่ยวชาญเข้ามาร่วมพัฒนากิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุให้มีคุณภาพ
สูงสุด ซึ่งมีการผลักดันให้มีการทำบันทึกข้อตกลงร่วมกันของภาคีเครือข่าย ผลักดันให้มีการทอดลองใช้
หลักสูตรเขตสุขภาพที่ 5 และหลักสูตรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รวมถึงได้ทำบันทึกข้อตกลง
ความร่วมมือ(MOU) โครงการสร้างการเรียนรู้ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบล
พลับพลาไชยภายใต้โรงเรียนผู้สูงอายุเฉลิมพระเกียนติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยาม
บรมราชกุมารี ทำให้โรงเรียนผู้สูงอายุตำบลพลับพลาไชยมีกิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุที่เกิดประสิทธิภาพและ
สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ต.พลับพลาไชย และยังเป็นต้นแบบสำหรับการศึกษาดูงานและการถ่ายถอด
ความรู้ด้านผู้สูงอายุรูปแบบโรงเรียนผู้สูงอายุ ซึ่งได้มีเครือข่ายความร่วมมือจากทั้งภาครัฐ เอกชน และ
295