Page 341 - kpiebook62009
P. 341
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเข้ารับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2562
2. การพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนทุกช่วงวัย
แนวคิด การออมเป็นฐานการจัดการตนเอง จุดเริ่มจาก 1 กลุ่ม 1,000 บาท ในปี พ.ศ.
2524 เริ่ม 48 คน ตอนนี้สมาชิกประมาณ 2,800 บาท เงินสะสมทั้งหมด 109 บาท ปัจจุบันมีเงินกองทุน
ประมาณ 400 ล้านบาท
หลัก ให้คนมีสวัสดิการตั้งแต่เกิดจนตาย ไม่ใช่ แค่ ออมและกู้ แต่ต้องการกระจายสวัสดิการ
สู่ชุมชน
ระบบการบริหารจัดการกองทุน
- ใช้เงินเป็นเครื่องมือในการสร้างคน
- เทคนิคการบริหารจัดการ สร้าง “คนแถว 1 2 3 4” จะถอยทีละรุ่น และ ให้คนรุ่นใหม่
เข้ามาบริหาร เรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม
- ผู้นำ คณะกรรมการที่โปร่งใส
- กองทุนชีวิต เรียนรู้ร่วมกัน มีปันผล มีการกำหนดการดูแลกัน สมาชิกสามารถเสนอ
ร่วมกันได้ (กระบวนการปันผลชีวิต)
- ต่อยอด จะเป็น “กองทุนคุณธรรม” โดยเอาคุณธรรมมาเป็นตัวจับ ไม่มีดอกเบี้ย เน้น
“ชีวิตมีคุณค่า คู่กับมูลค่า” “สถาบันการเงิน กองทุนสวัสดิการสังคม” “โรงเรียนออมทรัพย์” ให้เป็น
โรงเรียนสอน สร้างหลักสูตร การบริหารจัดการกลุ่มออมทรัพย์ กิจกรรมเครือข่าย
ข้อค้นพบ โครงการดังกล่าวขับเคลื่อนร่วมกับศูนย์พัฒนาครอบครัว
- มีคณะกรรมทำงานของศูนย์พัฒนาครอบครัวตำบลดงขี้เหล็ก โดยมีศูนย์ทั้ง 14 หมู่บ้าน
(อาสาเข้ามา)
- การเก็บข้อมูลผู้ประสบปัญหาความเดือดร้อน ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม
- ทำงานร่วมกับ รพสต. อสม. ผู้นำหมู่บ้าน (ชี้เป้า) จากนั้น วิเคราะห์ปัญหา วางแผน
การช่วยเหลือ
- มีกิจกรรมสานสายใย ขอรับบริจาคจากสมาชิกชุมชน ทั้งเงิน ข้าวของ ซึ่งจะมีการจัดทำ
บัญชี โดยใช้เฉพาะให้ความช่วยเหลือผู้ประสบปัญหา/ผู้เปราะบางทางสังคมเท่านั้น
- มีการจัดกิจกรรมสร้างเสริมคุณภาพชีวิตทุกช่วงวัย ตั้งแต่แรกเกิด จนถึง ตาย
- ทุกๆ ปี กลุ่มออมทรัพย์จะมีการประชุม จะให้ศูนย์พัฒนาครอบครัวทำกล่องบริจาค (สิ่งที่
ได้คือ ได้รับรู้ว่ามีศูนย์ฯ ได้ประสานภาคีเครือข่ายผ่านสภาองค์กรชุมชน ได้มา 1,800,000 บาท เอามาซ่อม
บ้าน 60 หลังคาเรือน)
3. เครือข่ายการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
โดยใช้หลัก 3Rs (แนวทาง คือ การจัดการขยะต้นทาง) และ สร้าง 3 โรงงาน ได้แก่
“โรงงานคัดขยะ โรงงานผลิตแก๊ส โรงงานผลิตปุ๋ย” ซึ่งดำเนินการประสาน สถาบันบ้านออมทรัพย์ โรงเรียน
ในการบริหารจัดการขยะ
300