Page 331 - kpiebook62009
P. 331

รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเข้ารับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2562



                         1. โครงการจัดตั้งศูนย์บริการสาธารณสุขด้านเวชกรรมฟื้นฟูเทศบาลตำบลท่าสาป

                            กระบวนการให้บริการสาธารณสุขด้านเวชกรรมฟื้นฟูในการปรับเปลี่ยนและฟื้นฟูพฤติกรรม
               ด้านสุขภาพบุคคลซึ่งมีความเสี่ยงต่อความเจ็บป่วยของโรคหลอดเลือดสมอง เพื่อป้องกันการเกิดโรค

               ป้องกันการเกิดเป็นซ้ำหรือควบคุมอาการของโรคไม่ให้มีความรุนแรงมากขึ้น  โดยวัดจากพฤติกรรมสุขภาพ

               3 ด้าน (3 self) คือ การรับรู้ความสามารถในการปรับพฤติกรรมตนเอง  (self-efficacy)  การกำกับ
               พฤติกรรมสุขภาพตนเอง (self-regulation) และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง (self-care)  และ

               พฤติกรรม 3 อ (อาหาร ออกกำลังกาย และอารมณ์) ส่วนการบริหารและดำเนินกิจกรรมในโครงการ

               ปรับเปลี่ยนสุขภาพให้เป็นผลสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของกิจกรรมหรือโครงการนั้น ได้ใช้หลัก PROMISE model
               คือ P – Positive reinforcement: หลักการเสริมแรงทางบวก, R-Result base manage: หลักการ

               บริหารจัดการมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน, O-Optimism: การมองโลกในแง่ดี, M-Motivation: สร้างแรงจูงใจ

               แก่ผู้รับการปรับพฤติกรรม และ I-Individual or Client cent:  หลักการจัดที่สอดคล้องกับปัญหาและ
               ความต้องการด้านสุขภาพของผู้เข้ารับการปรับพฤติกรรม

                         2. โครงการบริการวิชาการ ท่าสาปโมเดล

                            กระบวนการตอบสนองความต้องการของประชาชน  อันจะเป็นพื้นที่ต้นแบบแหล่งเรียนรู้
               โดยใช้หลักการเรียนรู้โดยการลงมือทำ (learning by doing) เพื่อการยกระดับคุณภาพชีวิตและความ

               เป็นอยู่ที่ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา ด้านอาชีพ ด้านรายได้หรือด้านอื่นๆ ให้สามารถพึ่งตนเอง

               เสริมสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งในชุมชนอย่างยั่งยืน โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนให้เกิดประโยชน์
               สูงสุด

                         3. โครงการโรงเรียนมีสุขผู้สูงวัย

                            กระบวนการส่งเสริม สนับสนุน และแสวงหาความร่วมมือจากภาคีเครือข่าย เพื่อให้ผู้สูงอายุ
               ได้มีพื้นที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมกับชุมชนไม่ว่าจะเป็นการพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้การถ่ายทอด

               ภูมิปัญญา หรือการพัฒนาตนเองในด้านต่างๆ ซึ่งเป็นการยกระดับการจัดสวัสดิการ สำหรับผู้สูงอายุใน
               ชุมชน เพื่อให้ผู้สูงอายุมองเห็นคุณค่าและความสำคัญของตนเอง ชุมชนประจักษ์ในศักยภาพและพลังของ

               ผู้สูงอายุ ส่งผลให้ผู้สูงอายุใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่า มีศักดิ์ศรี และมีความสุข

                         จุดเด่นของการปฏิบัติงานสร้างเสริมเครือข่าย
                         1. เครือข่ายจิตอาสาพยาบาลชุมชนเพื่อชีวิต เพื่อบริการบำบัดฟื้นฟูปัญหาด้านการเคลื่อนไหว

               และปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับผู้ป่วย

                         2. เครือข่ายวิทยากรจิตอาสาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตของ
               ผู้สูงอายุส่งเสริมการพัฒนาตนเอง การดูแล คุ้มครองและพิทักษ์สิทธิผู้สูงอายุ เสริมสร้างสุขภาพที่ดีของ

               ผู้สูงอายุทั้งด้านร่างกายและจิตใจ สร้างสรรค์ประโยชน์แก่ชุมชนและสังคม เห็นคุณค่าภูมิปัญญาผู้ให้เป็นที่

               ประจักษ์และยอมรับให้ดำรงสืบต่อไป




                                                         290
   326   327   328   329   330   331   332   333   334   335   336