Page 136 - b30427_Fulltext
P. 136
กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย: กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:
ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย
the-top) หรือบริการสื่อสารและแพร่ภาพและเสียงผ่านอินเทอร์เน็ต ยังคงมีช่องว่างที่
ทำให้ไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาที่มีอยู่หลายฉบับได้อย่างจริงจัง
สี่ การที่หลายมลรัฐมีนโยบายผลักดันให้การพนันกีฬาถูกกฎหมายของ
รัฐตนส่งผลให้ตลาดการพนันขยายตัวเข้ามาสู่วงการนี้ และสิ่งนี้เองคือหนึ่งในต้นตอ
สำคัญที่นำมาซึ่งปัญหาการล็อกผลการแข่งขัน (Match-Fixing) ที่มีองค์กร
อาชญากรรมข้ามชาติเข้ามาเกี่ยวข้อง ขณะเดียวกันข้อมูลเชิงลึกของทีมกีฬาชื่อดัง
มีความหมายและส่งผลต่อวงการพนันกีฬาอย่างยิ่ง
ห้า อุตสาหกรรมอีสปอร์ต (eSports) เติบโตอย่างรวดเร็ว ขณะที่ก็ยังไม่
ได้มีองค์การว่าด้วยอีสปอร์ตที่ได้รับการยอมรับระดับโลกเข้ามาควบคุมดูแล และ
ยังไม่มีความชัดเจนทางกฎหมายเหมือนกับชนิดกีฬาอื่น ไม่ว่าในแง่สถานะของนักกีฬา
กฎกติกาการแข่งขัน บทกำหนดโทษ ฯลฯ
3.3 กฎหมายกีฬาประเทศญี่ปุ่น
ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับการกีฬามาก เห็นได้จากการ
เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งแรกตั้งแต่ปี 1912 และยังได้เข้าร่วมการแข่งขัน
โอลิมปิกเกือบทุกครั้งที่ผ่านมา และมีการแต่งตั้งคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศ
ญี่ปุ่นตั้งแต่ 1912 เป็นต้นมา ระยะเวลารวมร้อยกว่าปี อีกทั้งเคยเป็นเจ้าภาพจัด
การแข่งขันโอลิมปีกในปี 1964 ที่กรุงโตเกียว อีกทั้งในปี 2020 ก็ได้รับเลือกให้เป็น
เจ้าภาพโอลิมปิกเช่นเดียวกัน แต่ด้วยสถานการณ์ไวรัสโคโรนา โควิด-19 ทำให้
โอลิมปิกครั้งที่เลื่อนออกไป
สำหรับการบริหารจัดการการกีฬาของประเทศญี่ปุ่นนั้น มีการใช้กฎหมายหลาย
ฉบับ มีการใช้หน่วยงาน องค์กรหลายส่วน โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
3.3.1 กฎหมายการกีฬาของประเทศญี่ปุ่น
3.3.1.1 กฎหมายพื้นฐานว่าด้วยการกีฬา ของประเทศญี่ปุ่น
กฎหมายพื้นฐานว่าด้วยการกีฬาของประเทศญี่ปุ่น (Basic Act
on Sport) ประกาศใช้เมื่อปี ค.ศ. 2011 โดยเป็นการแก้ไขกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริม
การกีฬาฉบับปี ค.ศ. 1961 ทั้งฉบับ (Sport Promotion Act (Act No. 141 of
12
สถาบันพระปกเกล้า