Page 134 - b30427_Fulltext
P. 134

กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:    กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:
 ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย     ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย



































               ภาพที่ 5 ผังโครงสร้างองค์กรและระบบงานในระดับดิวิชั่น 1 ของ NCAA 128


                     เนื่องด้วย NCAA มีอำนาจหลายด้าน และเกี่ยวพันหลายประเด็น
           กอปรกับ NCAA ใช้ระบบกลไกภายในในการจัดการข้อพิพาทและความคับข้องใจเหนือ
           สถาบันการศึกษาที่เป็นสมาชิก  การใช้อำนาจและตัดสินชี้ขาดหลายต่อหลายครั้ง
                                      129
           จึงกลายเป็นข้อพิพาทอันนำไปสู่การถูกฟ้องร้องในศาล เช่น Ed O’Bannon
           อดีตนักบาสเก็ตบอลทีม UCLA ฟ้อง NCAA เมื่อปี 2009 ว่าอดีตนักกีฬานักเรียน
           ควรได้รับค่าลิขสิทธิ์จากการที่ภาพถูกนำไปใช้ในโฆษณา ในวิดิโอเกม หรือในเครื่องแต่งกาย

           ซึ่งศาลตัดสินออกมาว่า NCAA ละเมิดกฎหมายต่อต้านการผูกขาด, ผู้เกี่ยวข้อง
           หลายคนตัดสินใจฟ้อง NCAA ที่สั่งลงโทษมหาวิทยาลัยเพนน์สเตตขั้นรุนแรง
                                                                                  130

                 128  ที่มา: http://www.ncaa.org/champion/how-ncaa-works

                 129  ดู Christian Dennie, “The Benefits of Arbitration: Arbitration in NCAA Student–
           Athlete Participation and Infractions Matters Provides for Fundamental Fairness,” The
           University of Memphis Law Review 46, no.1 (October 2015): 135-173.
                 130  “โทษประหารชีวิต” (Death Penalty) เป็นคำที่ถูกนำมาใช้เปรียบเปรยการลงโทษในบริบทของ
           NCAA หมายถึงการ “แบน” หรือห้ามมหาวิทยาลัยที่ถูกลงโทษเข้าร่วมแข่งขันกีฬาอย่างน้อยเป็นเวลา 1 ปี
           ขึ้นไป เป็นโทษสูงสุดเท่าที่มีอยู่ในมือ NCAA ก็ว่าได้


                                              12
                                          สถาบันพระปกเกล้า
   129   130   131   132   133   134   135   136   137   138   139