Page 131 - b30427_Fulltext
P. 131
กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย: กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:
ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย
3.2.5 องค์กรบริหารจัดการกีฬาที่โดดเด่น : กรณีศึกษา NCAA 127
กีฬาระดับมหาวิทยาลัยของอเมริกาเป็นที่นิยมและมีมูลค่าทางการตลาด
มหาศาล แข่งขันกันหลายประเภททั้งเบสบอล อเมริกันฟุตบอล บาสเก็ตบอล
ฮอกกี้น้ำแข็ง กอล์ฟ ขี่ม้า ฟันดาบ โปโลน้ำ ยิมนาสติก ยิงปืนยาว โบว์ลิ่ง กรีฑา
มวยปล้ำ ลาครอส ฯลฯ การแข่งขันกีฬาในกีฬาระดับมหาวิทยาลัยได้รับความนิยมจาก
ผู้ชมเป็นอย่างมาก เป็นความบันเทิงในระดับชาติที่ผู้คนนับหลายสิบล้านคนมีส่วนร่วม
รวมทั้งยังสร้างกำไรมหาศาลให้กับคนบางกลุ่ม นักกีฬามหาวิทยาลัยที่มีความสามารถ
จึงได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดี
หัวข้อนี้เลือกศึกษา NCAA เพราะเป็นสมาคมกีฬาที่มีอิทธิพลในลำดับ
ต้น ๆ และมีบทบาทในการวางระบบให้การแข่งขันกีฬาระดับมหาวิทยาลัยมาอย่าง
ยาวนานเกินกว่าศตวรรษ อันเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างเหล่านักกีฬาสมัครเล่น
ให้ก้าวขึ้นมาประสบความสำเร็จในวิชาชีพในเวลาต่อมา ทั้งนี้ เพื่อให้เห็นโครงสร้าง
องค์กร อำนาจหน้าที่ และสิ่งท้าทายที่ต้องเผชิญ
NCAA เป็นองค์กรเอกชนที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้เข้ามารับผิดชอบจัดการดูแล
การแข่งขันกีฬาระดับมหาวิทยาลัยของสหรัฐฯ ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1906 ก่อนนั้นเคยมี
คณะกรรมการควบคุมกฎของอเมริกันฟุตบอลระดับวิทยาลัยมาตั้งแต่ปี 1894 เกิดจาก
การรวมกันของมหาวิทยาลัยกลุ่มเล็ก ๆ แค่ไม่กี่แห่งคือ ฮาร์วาร์ด เยล เพนซิลวาเนีย
และ พรินตัน ต่อมาในปี 1905 สมาชิกเพิ่มขึ้นเป็น 62 แห่งได้ส่งตัวแทนมาร่วม
ประชุมที่มหาวิทยาลัยนิวยอร์คเพื่อพูดคุยเรื่องปัญหาการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากกีฬา
อเมริกันฟุตบอลระดับมหาวิทยาลัย การประชุมครั้งนั้นเองที่ได้ส่งผลให้มีการก่อตั้ง
NCAA ขึ้นมาในภายหลัง เพื่อวางกฎเกณฑ์ให้การแข่งขันเป็นไปโดยเรียบร้อย และ
ปลอดภัยต่อนักกีฬาที่ยังคงเป็นนักศึกษา
NCAA มีเป้าหมายพื้นฐานสำคัญถูกเขียนเอาไว้ในบทบัญญัติข้อ 1.3 ของ
ธรรมนูญก่อตั้ง (NCAA Constitution) ใจความว่า “การแข่งขันกีฬาของสถาบัน
การศึกษาที่เป็นสมาชิกถือเป็นส่วนสำคัญของระบบการศึกษาเท่ากับเป็นการรักษาไว้ซึ่ง
ความแตกต่างระหว่างกีฬามหาวิทยาลัยกับกีฬาอาชีพ” โดยมีวัตถุประสงค์ในการ
ดำเนินการทั้งสิ้น 9 ข้อ ดังนี้
127 เรียบเรียงโดยอาศัยหนังสือ 2 เล่มเป็นหลัก ได้แก่ Glenn M. Wong, Essentials of Sports
Law, 165-170; Patrick K. Thornton, Sports Law, 96: 541-548.
120
สถาบันพระปกเกล้า