Page 84 - kpi9942
P. 84
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกลาง จ.เชียงใหม่
สาธารณสุข โดยที่จะมีเจ้าหน้าที่ของสถานีอนามัยบ้านกลางมาตรวจทุกเดือน
โรงงานน้ำดื่มเพื่อชุมชนจะมีคณะกรรมการดำเนินงาน 9 คน เป็นตัวแทนของหมู่บ้านทั้ง 3
หมู่ๆ ละ 3 คน ประธานคณะกรรมการฯ คนปัจจุบัน คือ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 8 บ้านใหม่สามหลัง
สำหรับเจ้าหน้าที่ในโรงงาน มีจำนวน 5 คน ประกอบด้วย ผู้จัดการโรงงาน 1 คน (ทำหน้าที่ทำบัญชี
และล้างเครื่องกรองน้ำ) และคนล้างและบรรจุน้ำอีก 4 คน ได้รับค่าจ้างรายวันๆ ละ 160 บาท
ทำงานวันจันทร์ถึงศุกร์ ส่วนวันเสาร์และอาทิตย์จะรับจ้างทำนาทำสวน 4
ผลิตภัณฑ์น้ำดื่มมี 2 ประเภท คือ หนึ่ง ถังใหญ่ขนาด 20 ลิตร จำหน่ายถังละ 10 บาท
และสอง แบบลัง (1 ลังมี 20 ขวดๆ ละ 950 มิลลิลิตร) จำหน่ายลังละ 20 บาท ซึ่งราคาจำหน่าย
ของเอกชนลังละ 25 บาท โดยยอดจำหน่ายต่อเดือนในช่วงฤดูหนาว ถังใหญ่มียอดจำหน่าย 300
กว่าถัง และแบบลังมียอดจำหน่าย 8-9 ลัง แต่สำหรับช่วงฤดูร้อน ถังใหญ่มียอดจำหน่าย 800 –
900 ถัง และแบบลังมียอดจำหน่าย 200 กว่าลัง
ดังนั้น โรงงานน้ำดื่มเพื่อชุมชนจึงช่วยให้ชุมชนมีโรงงานน้ำดื่มสำหรับบริโภคที่ได้มาตรฐาน
ประชาชนในชุมชนมีน้ำดื่มสะอาดราคาถูกสำหรับการบริโภค รวมทั้งเกิดการจ้างงานและสร้าง
รายได้ให้กับแรงงานในการผลิต
2.3 การอนุรักษ์และการส่งเสริมการท่องเที่ยวโบราณสถานเวียง
ท่ากาน
เวียงท่ากานเป็นเมืองโบราณที่มีคูเมือง-กำแพงเมืองล้อมรอบ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด
กว้าง 500x700 เมตร ปัจจุบันอยู่ที่หมู่ 5 บ้านท่ากาน ตำบลบ้านกลาง โดยจากการขุดค้นขุดแต่ง
ทางโบราณคดี ได้พบโบราณวัตถุ ศิลปกรรมแบบหริภุญไชยจำนวนมาก เช่น พระพิมพ์ดินเผาแบบ
พระสาม พระสิบสอง พระพุทธรูปดินเผา เป็นหลักฐานที่ยืนยันว่าชุมชนแห่งนี้นับถือพุทธศาสนามา
ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 17-18 ส่วนโบราณสถานที่พบส่วนใหญ่เป็นสถาปัตยกรรมแบบล้านนา
ที่กำหนดอายุสมัยระหว่างพุทธศตวรรษที่ 20-22 แสดงถึงการอยู่อาศัยต่อเนื่องและชุมชนแห่งนี้
ดำเนินมาโดยตลอด แม้อยู่ภายใต้การปกครองของพม่าภายหลังที่เชียงใหม่พ่ายแพ้แก่พระเจ้า
บุเรงนอง ในปี พ.ศ. 2101 ดังนั้น หลักฐานต่างๆ ที่ปรากฏระบุถึงศักยภาพของเวียงท่ากานในฐานะ
4 สัมภาษณ์ นางนุชรินทร์ ปินตาไฝ, 29 เมษายน 2551
ถอดรหัส รางวัลพระปกเกล้า ’ 50