Page 82 - kpi9942
P. 82

องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกลาง       จ.เชียงใหม่



                    จากการศึกษาของพงษ์ธร ชุติมานันท์ (2548: ง) เกี่ยวกับบทบาทขององค์การบริหารส่วน
              ตำบลบ้านกลางต่อการพัฒนาการเกษตรพบว่า องค์การบริหารส่วนตำบลมีบทบาทอย่างมากในด้าน
              การจัดหาน้ำเพื่ออุปโภค บริโภคและการเกษตร ด้านการบำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของ
              ราษฎร และด้านการส่งเสริมกลุ่มเกษตรกร นอกจากนี้ งานของจรัส สุวรรณมาลาและคณะ (2547)
              ได้ศึกษากรณี Best Practice ขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกลาง เรื่อง การแปรรูปอาหาร

              ตามหลัก GMP (Good Manufacturing Practice)

                    โครงการการแปรรูปอาหารตามหลัก GMP นั้น เป็นความร่วมกันและช่วยเหลือซึ่งกันและ
              กัน ระหว่างกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรสันกอเก็ต (หมู่ 10) ร่วมกับเจ้าหน้าที่เกษตรตำบล ภายใต้ความ
              ช่วยเหลือของสำนักงานเกษตรอำเภอสันป่าตอง เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรรวมกลุ่มกันแปรรูปสินค้า
              การเกษตรที่มีวัตถุดิบในพื้นที่ เป็นการช่วยเหลือเพื่อการประกอบอาชีพและเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน

              ตามมาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ภายใต้เกณฑ์มาตรฐานที่ชื่อว่า GMP
              หรือ Good Manufacturing Practice ทั้งนี้ ได้มีการเริ่มดำเนินโครงการอย่างจริงจังเมื่อปี 2545

                    การดำเนินกิจกรรมเริ่มจากองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกลางร่วมกับสำนักงานเกษตรกร
              อำเภอสันป่าตองและคณะกรรมการกลุ่มแม่บ้านเกษตร ในการตกลงร่วมกันในการนำมาตรฐาน
              GMP มาใช้กับการแปรรูปวัตถุดิบทางการเกษตรที่มีอยู่ในตำบลบ้านกลาง เช่น ลำไย กล้วย พริก
              และ ข้าว เป็นต้น โดยมีระดมทุนจากสมาชิกฯ ของกลุ่ม เพื่อใช้ในการดำเนินงานและองค์การ

              บริหารส่วนตำบลบ้านกลางให้การสนับสนุนด้านงบประมาณ รวมทั้งกรมส่งเสริมการเกษตรให้การ
              สนับสนุนด้านงบประมาณ และด้านวิชาการเกี่ยวกับเกณฑ์และมาตรฐานของ GMP จนมี
              ผลิตภัณฑ์ออกมาจำหน่ายได้แก่ ลำไยอบเนื้อ น้ำพริกตาแดง ข้าวแต๋นน้ำลำไย ข้าวเกรียบผลไม้
              และกล้วยอบเนย ผลสำเร็จของการดำเนินโครงการนอกจากกลุ่มแม่บ้านเกษตรจะมีผลกำไรจาก
              การดำเนินงานมากขึ้นแล้ว ยังเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารงานด้วย
              ตนเองภายในกลุ่มอาชีพ ทำให้ประชาชนมีความภาคภูมิใจว่า ตนเองได้เป็นส่วนหนึ่งในการทำให้

              ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มอาชีพ ได้รับการเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จักแก่คนทั่วไป ซึ่งทำให้เกิดความเข้มแข็ง
              ภายในกลุ่ม และนำไปสู่ความตั้งใจทำงาน รวมทั้งความสำเร็จของกลุ่มได้
                                                                 3



                  3   จรัส สุวรรณมาลาและคณะ, นามานุกรมนวัตกรรมท้องถิ่นไทย ประจำปี 2547
                    (กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2547) หน้า 222


                                                    ถอดรหัส รางวัลพระปกเกล้า ’ 50
   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87