Page 119 - kpi9942
P. 119
ถอดรหัส รางวัลพระปกเกล้า ’ 50
ผู้หญิงยังคงได้รับการยอมรับนับถืออยู่พอสมควร โดยเฉพาะในหมู่ที่ 14 บ้านศิริราษฎร์ มีผู้หญิง
เป็น สมาชิกสภาฯ ทั้ง 2 คน (นางสาคร รินพล และ นางพิสมัย ศิริลักษณ์) หรือในกรณีของ
หมู่ที่ 2 บ้านรวมมิตร ที่มีหลายชนเผ่า ก็มีสมาชิกสภาฯ 1 คน เป็นผู้หญิง (นางสาวจารุวรรณ์
วังกาวี) หรือหมู่ที่ 13 ที่นับเป็นพื้นที่กว้างขวางและมีกลุ่มบ้านบริวารเป็นจำนวนมากถึง 11 กลุ่ม
บ้านบริวาร ประกอบกับพื้นที่ห่างไกลที่สุด ผู้หญิงก็ได้รับเลือก 1 ตำแหน่ง (นางจินดารัตน์
รัตนธนภรณ์) ให้เป็นสมาชิกสภาฯ เช่นเดียวกัน
1.4 ทุนด้านต่างๆ ขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่ยาว
ข้อมูลเกี่ยวกับทุนด้านต่างๆ ขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่ยาวนั้น จะนำเสนอประเภท
ของทุน ออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ 1.ทุนด้านการคลัง 2.ทุนด้านทรัพยากรบุคคล 3.ทุนทางสังคม
วัฒนธรรม
1) ทุนด้านการคลัง
ในงบประมาณปี พ.ศ. 2550 มีรายได้จำนวนทั้งสิ้น 27,837,217.31 บาท โดยมีรายได้
จากเงินอุดหนุนทั่วไปจำนวน 9,721,352.00 บาท รายได้ส่วนใหญ่มาจากภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษี
สรรพสามิต แต่ก็ได้มีการสำรองรายรับในปี พ.ศ. 2549 ไว้ จำนวน 2,734,200.00 บาท ส่วน
รายได้ที่รัฐบาลจัดเก็บแล้วจัดสรรให้ เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 17,213,337.42 บาท สำหรับรายได้ที่
องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ยาวจัดเก็บเอง เป็นจำนวน 902,527.88 บาท ในขณะที่ทางด้านค่าใช้
จ่ายขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่ยาว เป็นจำนวนทั้งสิ้น 30,388,556.86 บาท โดยมีรายจ่ายใน
หมวดค่าใช้สอยและหมวดค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้างมากที่สุด
2) ทุนทรัพยากรบุคคล
เมื่อพิจารณาทางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่ยาว
ที่ประเมินได้จากโครงสร้างขององค์กร ด้วยการเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดเล็กทำให้
โครงสร้างภายในขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่ยาว ประกอบด้วย หน่วยตรวจสอบภายใน
สำนักงานปลัด ส่วนการคลัง ส่วนโยธา และส่วนการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม โดยแต่ละส่วน
มีจำนวนบุคลากรดังต่อไปนี้
11
สถาบันพระปกเกล้า