Page 28 - kpi8470
P. 28
ความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รูปแบบและความเป็นไปได้
22
ขึ้นในประเทศไทย มีเฉพาะรูปแบบความร่วมมือที่มีลักษณะใกล้เคียง ได้แก่ การที่รัฐบาล
กลางได้เข้าไปช่วยเหลือทางด้านเทคนิคและงบประมาณ ดังเช่นปรากฎตามการจัดการปัญหา
ขยะในจังหวัดภูเก็ต ซึ่งมีหน่วยงานบริหารราชการส่วนกลาง เช่น กระทรวงวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และกรมโยธาธิการของกระทรวงมหาดไทย ได้ให้การสนับสนุน
4
ด้านวิชาการและการเงิน เพื่อก่อสร้างสถานที่กำจัดขยะ ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันกับองค์กร
5
ปกครองส่วนท้องถิ่นด้วย และกรณีที่ราชการส่วนภูมิภาคเข้าไปมีส่วนกระตุ้นให้องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการร่วมกัน เช่น กรณีที่อำเภอพระนครศรีอยุธยาซึ่งได้ทำหน้าที่
ประสานงานระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ในการร่วมกันจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรม
และภูมิปัญญาท้องถิ่น และมีการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมกันระหว่างองค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่น โดยได้ดำเนินการจัดตั้งเป็นศูนย์ มีงบประมาณในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ จะเห็น
ได้ว่ารูปแบบของความร่วมมือที่มีความเป็นทางการต่ำกว่ามีจำนวนความร่วมมือมากกว่า
อย่างไรก็ดี ไม่ว่าจะเป็นความร่วมมือในรูปแบบใดก็ตาม เป้าหมายหลักของความร่วมมือ
ล้วนตั้งอยู่บนความต้องการในการจัดบริการสาธารณะที่ท้องถิ่นเดียวไม่สามารถดำเนินการได้
นั่นเอง
4 ภายหลังการปฏิรูประบบราชการ และการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหาร
ราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2545 กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม ได้
เปลี่ยนชื่อเป็น “กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี”
5 โปรดดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน นรนิติ เศรษฐบุตร, ปธาน สุวรรณมงคล และสมคิด
เลิศไพฑูรย์, ความร่วมมือในการบริหารท้องถิ่นในประเทศไทย (โครงการวิจัยร่วมกัน
ระหว่างไทยและญี่ปุ่นเรื่องการเสริมสร้างสมรรถนะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น),
ส่วนที่ 3.
สถาบันพระปกเกล้า