Page 27 - kpi8470
P. 27
ความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รูปแบบและความเป็นไปได้
21
3.3 การทำข้อตกลง (Agreement)
เมื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความต้องการปฏิบัติภารกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ
หลายอย่างร่วมกัน โดยไม่มีความประสงค์จะให้มีข้อผูกพันธ์ทางกฎหมาย วิธีการทำข้อตกลง
จึงเป็นวิธีที่ง่ายในทางปฏิบัติ โดยภารกิจดังกล่าวเป็นภารกิจที่ทำให้เกิดประโยชน์ร่วมกัน ต่าง
จากรูปแบบการมอบหมายหน้าที่ซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มอบภารกิจจะเป็นฝ่ายได้
รับประโยชน์ แต่กรณีการทำข้อตกลงนั้น ทั้งสองฝ่ายอยู่ในสถานะที่ได้ประโยชน์ร่วมกัน โดย
หากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เข้าร่วมไม่มีความประสงค์จะดำเนินการตามข้อตกลงต่อไป
ก็สามารถที่จะยกเลิกข้อตกลงนั้นได้
3.4 หุ้นส่วน (Partnership)
ความร่วมมือในรูปแบบหุ้นส่วนถือว่าเป็นรูปแบบที่ไม่เป็นทางการที่สุด โดยความ
ร่วมมือในลักษณะดังกล่าวอาจเป็นการขอความอนุเคราะห์ช่วยเหลือจากหน่วยงานอื่น ๆ ไม่
ว่าจะเป็นอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ หรือกำลังคน เป็นต้น
ลักษณะเด่นของความร่วมมือในรูปแบบหุ้นส่วน คือ ไม่มีความผูกพันธ์ทางกฎหมาย
โดยความร่วมมือจะอยู่ในระดับดีแค่ไหนนั้น จะแปรผันไปตามระดับความสัมพันธ์ระหว่าง
ผู้นำขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือระดับความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่ขององค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นเหล่านั้น ดังนั้น ความร่วมมือแบบหุ้นส่วนจึงมีลักษณะที่ไม่ถาวร
ขาดความมั่นคงและต่อเนื่อง อันเนื่องมาจากความสัมพันธ์ที่อาจเปลี่ยนแปลงได้เมื่อมีการ
เปลี่ยนผู้บริหารท้องถิ่น เป็นต้น
ในประเทศไทย ประเด็นเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
อาจกล่าวได้ว่า ยิ่งรูปแบบความร่วมมือมีระเบียบขั้นตอนที่ยุ่งยากและซับซ้อนเท่าใด การจัด
ตั้งความร่วมมือยิ่งมีความยากมากตามไปด้วย โดยสังเกตได้จากรูปแบบสหการที่มีกำหนดมา
ตั้งแต่พระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาล พ.ศ. 2476 ซึ่งได้เปิดโอกาสให้ท้องถิ่นสามารถ
จัดตั้งสหการได้ จนถึงปัจจุบันสามารถกล่าวได้ว่า ความร่วมมือในรูปแบบสหการนี้ยังไม่เกิด
สถาบันพระปกเกล้า