Page 7 - 23154_Fulltext
P. 7

2


                       ความเห็นที่ 2 มีความเห็นว่าระบบรัฐสภาของประเทศไทยควรใช้ระบบสองสภา โดยสภาที่สองหรือสภาสูง

               อาจก าหนดให้มีที่มาจากการเลือกตั้งจ านวนหนึ่ง และมาจากการเลือกบุคคลในกลุ่มวิชาชีพต่างๆ จ านวนกึ่งหนึ่งซึ่ง
               จะต้องก าหนดกลไกหรือหลักเกณฑ์การคัดสรรให้ได้บุคคลที่เป็นตัวแทนของกลุ่มวิชาชีพนั้นๆ อย่างแท้จริงด้วย”
               (ส านักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2563: 32)


                       ในห้วงเวลาที่มีความพยายามเสนอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ประเด็น
               เรื่องรูปแบบของระบบรัฐสภาในประเทศไทยได้กลายเป็นประเด็นส าคัญในการถกเถียงในสังคมวงกว้างอีกครั้งหนึ่ง

               โดยกลุ่ม Resolution ที่ได้เสนอให้มีการใช้ยกเลิกวุฒิสภา และใช้ระบบสภาเดียว โดยน าเสนอเหตุผลว่า 1)
               ประชาชนจะมี 1 สิทธิ์ 1 เสียงเท่ากันในการเลือกนายกรัฐมนตรี 2) การเมืองในสภาตอบโจทย์ความต้องการของ

               ประชาชน 3) คสช. จะแต่งตั้งคนของตัวเองมาช่วยในการสืบทอดอ านาจไม่ได้อีกต่อไป 4) การตรวจสอบถ่วงดุล
               การใช้อ านาจของรัฐบาลมีประสิทธิภาพมากขึ้น 5) ประหยัดงบประมาณกว่า 1,200 ล้านบาทต่อปี 6) การออก
               กฎหมายและนโยบายคล่องตัว ทันใจ ตอบสนองต่อสถานการณ์ และ 7) โครงสร้างรัฐสอดคล้องกับทิศทางโลก

               สมัยใหม่ (Resolutioncon, 2564)

                       จากประวัติศาสตร์และพัฒนาการของรูปแบบของระบบรัฐสภาในประเทศไทยนั้น มีการใช้ทั้งระบบสภา

               เดียวและสองสภามาแล้วทั้งสิ้น แต่ข้อถกเถียงเรื่องรูปแบบของระบบรัฐสภายังคงมีอยู่เสมอมาว่ารูปแบบของระบบ
               รัฐสภาที่เหมาะสมกับประเทศไทยนั้นควรเป็นอย่างไร ค าถามนี้ยังไม่มีการถกเถียงบนฐานของหลักการและ

               ข้อเท็จจริงมากนัก ข้อถกเถียงเรื่องรูปแบบของระบบรัฐสภาในประเทศไทยมักจะถกเถียงกันแต่เพียงว่าประเทศ
               ไทยควรใช้ระบบสภาเดียวหรือสองสภา และเป็นการถกเถียงแต่ในมิติ “ความน่าจะเป็น” ว่าถ้าใช้ระบบสภาเดียว
               จะเป็นอย่างไร ถ้าใช้ระบบสองสภาจะเป็นอย่างไร เท่านั้น


                       สถาบันพระปกเกล้าในฐานะสถาบันวิชาการในก ากับของประธานรัฐสภา มีพันธกิจที่ส าคัญประการหนึ่ง
               คือการศึกษาวิจัยทางวิชาการเพื่อสร้างองค์ความรู้และเสนอแนะการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาการเมืองการ

               ปกครองในระบอบประชาธิปไตยอย่างเป็นระบบ ตระหนักถึงความส าคัญของรัฐสภาในฐานะสถาบันการเมืองที่
               ส าคัญในระบอบประชาธิปไตย จึงได้ให้มีการด าเนินโครงการวิจัย “รูปแบบของระบบรัฐสภาที่เหมาะสมส าหรับ

               ประเทศไทย” ภายใต้โครงการทบทวนองค์ความรู้เพื่อการปฏิรูปรัฐธรรมนูญ เพื่อศึกษาและรวบรวมองค์ความรู้ของ
               ระบบรัฐสภาทั้งในเชิงเปรียบเทียบและในประเทศไทย ทั้งในมิติด้านโครงสร้าง อ านาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ และ

               ในด้านหลักการ ข้อถกเถียง และประวัติศาสตร์ความคิด และเพื่อน าเสนอรูปแบบของระบบรัฐสภาที่เหมาะสม
               ส าหรับประเทศไทยควรเป็นอย่างไร

               ค าถามการวิจัย


                       งานวิจัยนี้ต้องการตอบค าถามหลัก 2 ข้อเกี่ยวกับความสัมพันธ์เชิงอ านาจในระบบรัฐสภาของไทย ได้แก่

                   1.  นับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 เป็นต้น ความสัมพันธ์เชิงอ านาจของรัฐสภาของไทย

                       ตามรัฐธรรมนูญเป็นอย่างไร
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12