Page 6 - 23154_Fulltext
P. 6

1



                                                          บทที่ 1

                                                           บทน า

                       ในระบอบประชาธิปไตยยุคสมัยใหม่ รัฐสภาถือเป็นหนึ่งในสามสถาบันการเมืองส าคัญที่ใช้อ านาจอธิปไตย
               ในฐานะฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งมีหน้าที่ส าคัญในการออกกฎหมายและตรวจสอบถ่วงดุลฝ่ายบริหาร ในยุโรป รูปแบบ
               ของการปกครองที่มีสภานั้นสามารถนับย้อนไปได้ถึงในสมัยโบราณ ตั้งแต่การมีผู้น าและสภาผู้อาวุโส (a chief and

               council of wise men) มาจนถึงรูปแบบการปกครองที่มีกษัตริย์และสภาขุนนาง (a king and a royal council)
               ในช่วงเริ่มแรกของยุคกลาง ซึ่งต่อมาได้มีการพัฒนากลายเป็นรูปแบบการปกครองที่มีกษัตริย์และรัฐสภา (a king

               and parliament) ในช่วงปลายยุคกลางจนถึงต้นยุคสมัยใหม่ มาจนถึงรูปแบบการปกครองที่มีรัฐสภาและ
               นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล ในยุคปัจจุบัน (Congleton, 2010: 6) กล่าวได้ว่า พัฒนาการของรูปแบบของ

               ระบบรัฐสภาในยุโรปนั้นมีพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ทั้งในด้านความคิดและ โครงสร้าง อ านาจหน้าที่ ที่มี
               วิวัฒนาการมาอย่างยาวนานที่สามารถพัฒนาและหยั่งรากลึกจนกลายเป็นสถาบันการเมืองในระบอบประชาธิปไตย

               แบบตัวแทนในยุคสมัยใหม่ที่ส าคัญ กล่าวอีกนัยหนึ่ง รัฐสภาในฐานะสถาบันการเมืองเป็นผลผลิตของการต่อสู้ทาง
               ความคิด และการต่อสู้ทางการเมืองที่มีประวัติศาสตร์อย่างยาวนาน


                       ส่วนประเทศไทยนั้น นับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 จนถึงวันนี้
               มีรัฐธรรมนูญทั้งหมด 20 ฉบับ ในบางห้วงเวลา รูปแบบของระบบรัฐสภาของไทยนั้นเป็นระบบสภาเดียว
               (unicameralism) อันหมายถึงมีสภาเดียวที่ท าหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไป เช่น สภา

               ผู้แทนราษฎร สภานิติบัญญัติแห่งชาติ สภาร่างรัฐธรรมนูญ สภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน เป็นต้น ในบางห้วง
               เวลานั้น รูปแบบของระบบรัฐสภาในประเทศไทยก็ใช้ระบบสองสภา (bicameralism) อันประกอบด้วยสภาล่าง

               (lower house) คือ สภาผู้แทนราษฎร และสภาสูง (upper house) คือ พฤฒสภา ซึ่งต่อมาเรียกว่า วุฒิสภา จนถึง
               ปัจจุบัน


                       รูปแบบของระบบรัฐสภาในประเทศไทยนั้นเป็นที่ถกเถียงกันมาอย่างยาวนาน ดังเช่นตัวอย่างในรายงาน
               คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหา หลักเกณฑ์ และแนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่ง
               ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 สภาผู้แทนราษฎร ที่ได้เสนอให้พิจารณาความเหมาะสมของรูปแบบของ

               ระบบรัฐสภาในประเทศไทยว่าควรเป็นในลักษณะใด โดยมีความเห็นเป็น 2 ฝ่าย ได้แก่

                       “ความเห็นที่ 1 มีความเห็นว่าควรก าหนดให้รัฐสภาของประเทศไทยเป็นระบบสภาเดียว เนื่องจาก

               ประเทศไทยมีการปกครองในรูปแบบราชอาณาจักร ไม่ใช่การปกครองในรูปแบบสาธารณรัฐ หรือสหพันธรัฐซึ่งจะ
               ใช้ระบบสองสภา ประกอบกับการก าหนดรูปแบบรัฐสภาเป็นสองสภา คือสภาสูงและสภาล่าง จะท าให้สิ้นเปลือง

               งบประมาณและประชาชนเกิดความสับสน โดยเฉพาะการตั้งคณะกรรมาธิการสามัญ ทั้งในส่วนของสภา
               ผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาซึ่งมีชื่อ อ านาจและการท าหน้าที่ในลักษณะคล้ายกัน
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11