Page 69 - 22825_Fulltext
P. 69

2-29







                              โควิด-19 กับการฆ่าตัวตาย แม้ในระดับโลกจะไม่มีผลออกมาอย่างชัด แต่การที่เกิดโรค
                       ระบาดโควิด – 19 ท าให้ปัจจัยที่เสี่ยงต่างๆที่ส่งผลต่อการฆ่าตัวตายทวีความรุนแรงงานมากขึ้น อาทิ
                       การแยกตัวทางสังคม ความเครียดทางการเงิน การว่างงาน โดยเฉพาะความว่างงานมีผลต่อการ

                       เปลี่ยนแปลงของจ านวนอัตราการฆ่าตัวตาย ท าให้ประชาชนโดยทั่วไปมีภาวะที่ซึมเศร้าและ
                       ความเครียดเพิ่มขึ้นในระยะยาว


                              ในส่วนของความรู้สึกเกลียดชังมีการเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ต่อชาวจีนพลัดถิ่นและชาวเอเชีย
                       สถานการณ์ครั้งแรกจากนครอู่ฮั่น เมืองหลวงของมณฑลหูเป่ย ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ถูก

                       มองจากคนบางกลุ่มว่าเป็นสาเหตุของการแพร่ระบาดของโควิด -19 โดยกลุ่มคนดังกล่าวโดนท าร้าย
                       ร่างกายอย่างรุนแรงหรือมีการล่วงละเมิดทางวาจา การก่อกวน มีการเลือกปฏิบัติที่มุ่งเป้าไปที่คน
                       เอเชีย จากสถานการณ์ดังกล่าวท าให้คนกลุ่มดังกล่าวตกเป็นเหยื่อของความเกลียดชังและความ

                       หวาดกลัว

                              การระบาดของโควิด-19 ที่แพร่กระจายไปทั่วโลก  ได้สร้างผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานและ

                       การค้าระหว่างประเทศโลก เนื่องจากพรมแดน และการห้ามเคลื่อนย้ายคน ท าให้การท่องเที่ยวชะงัก
                       อย่างไม่เคยเป็นมาก่อน และคนหลายล้านคนต้องเผชิญกับโอกาสตกงาน ซึ่งเป็นผลกระทบกับรายได้

                       ของประชาชนเป็นวงกว้าง ซึ่งกลุ่มเปราะบาง เป็นกลุ่มที่มีโอกาสได้รับผลกระทบด้านสุขภาพและ
                       เศรษฐกิจมาก เช่น คนไร้บ้าน ไม่มีที่พักอาศัยหลักเป็นแหล่งจึงมีความเสี่ยงสูงต่อโรคระบาด คนรายได้

                       ต่ า ท าให้โอกาสในการจ้างงานน้อยลง เกิดความหวาดกลัว เป็นต้น ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวได้เพิ่ม
                       ความไม่เท่าเทียม การกีดกัน การเลือกปฏิบัติ และความขัดแย้งในสังคม โดยกลุ่มคนเหล่านี้ยังไม่ได้รับ

                       การคุ้มครอง หรือไม่สามารถเข้าถึงการบริการของภาครัฐ (ส านักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่าง
                       ประเทศ, 2564)

                              2.3.องค์ความรู้อื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการวัดระดับสันติภาพในโลกของต่างประเทศและใน

                       ประเทศไทย
                               องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับสันติภาพของต่างประเทศมีหลายชิ้น  ประกอบด้วย  1.  ดัชนีนิติ
                       ธรรม/นิติรัฐ (Rule of law Index) 2. ดัชนีเสรีภาพในโลก (Freedom House) 3. ดัชนีก่อการร้ายโลก

                       (Global Terrorism Index: GTI) 4.ดัชนีการค้ามนุษย์ 5. ดัชนีความปรองดอง SA Reconciliation
                       Barometer Survey 6. ดัชนีความเจริญรุ่งเรือง (Prosperity Index) 7. เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

                       (SDGs)

                              1. ดัชนีนิติธรรม/นิติรัฐ (Rule of law Index)
                              โครงการความยุติธรรมโลก (World Justice Project หรือ WJP) เป็นโครงการติดตามความก้าวหน้า

                       และประเมินประสิทธิภาพของหลักนิติธรรม (Rule of Law) ทั่วโลก ถูกก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2549
                       จากแนวคิดของ William H. Neukom ประธาน American Bar Association (ABA) โดยปัจจุบันมี
                       ส านักงานตั้งอยู่ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. และเมืองซีแอตเทิล สหรัฐอเมริกา WJP ด าเนินงานโดยอาศัย
   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74