Page 66 - 22825_Fulltext
P. 66

2-26







                       2.2.โควิด-19 กับสถานการณ์สันติภาพ
                              งานที่น่าสนใจของสากลในด้านผลกระทบจากโควิด-19 ต่อสันติภาพ คืองานของสถาบัน
                       Interpeace ที่ชื่อว่า Peace and Conflict in a Covid-19 World และงานสองชิ้นของสถาบัน
                       เศรษฐศาสตร์และสันติภาพในงาน   Covid-19 And Peace และจากงานชิ้นล่าสุดของ Steve

                       Killielia ผู้ก่อตั้งสถาบันเศรษฐศาสตร์และ ในหนังสือ Peace in the Age of Chaos รายละเอียดมี
                       ดังนี้
                              1)  งานของสถาบัน Interpeace (2020) และสถาบันเศรษฐศาสตร์และสันติภาพในงาน
                                 Covid-19 And Peace ได้วิเคราะห์ไว้ดังนี้

                              1.  ผลกระทบต่อสันติภาพและความขัดแย้ง 1.1 ต้องท าให้เกิดความไว้วางใจ เชื่อมั่นในการ
                                 ตอบสนองต่อสุขภาพ ไม่ควรท าให้เหมือนสถานการณ์โรคอีโบล่าที่ท าให้ระบบสุขภาพ
                                 ท้องถิ่นของแอฟริกาตะวันตกล้มเหลว มีคนตายจ านวนมาก 1.2 ศักยภาพของระบบ
                                 สุขภาพของแต่ละประเทศที่ไม่เท่ากัน และต้นทุนที่เกิดจากมาตรการของรัฐที่แตกต่าง

                                 เช่น การล็อคดาวน์ ส่งผลอย่างมากต่อประเทศที่ก าลังขัดแย้งและประเทศที่มีรายได้น้อย
                                 (Interpeace, 2020)
                              2.  การระบาดของข้อมูล (Infodemic) 2.1 การตอบสนองต่อข้อมูลที่ท่วมท้นในด้านสุขภาพ

                                 (ข่าวลือ,ข่าวลวง) มีความส าคัญเท่ากับ การตอบสนองต่อแง่มุมเชิงเทคนิคของสุขภาพ
                                 (คุณภาพและความน่าเชื่อถือของการให้บริการ)  2.2 ประชาชนไม่ได้เชื่อข้อมูลด้วยตัว

                                 มันเอง แต่เชื่อแหล่งของข้อมูล เช่น ผู้น าในระดับท้องถิ่น ผู้น าศาสนา ผู้น าหมู่บ้าน เป็น

                                 ต้น (Interpeace, 2020)
                              3.  ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ 3.1 ผลกระทบต่อเศรษฐกิจมหภาคของโลกจากวิกฤตมี

                                 ความส าคัญและยังคงคาดการณ์ไม่ได้ 3.2 ผลกระทบด้านลบต่อการท ามาหากินของ
                                 ครัวเรือน โดยเฉพาะในประเทศยากจน  (Interpeace, 2020) งานของ IEP ระบุว่า การ

                                 ลดงบประมาณช่วยเหลือจากต่างประเทศ ส่งผลกระทบต่อประเทศที่เปราะบาง มีความ

                                 ขัดแย้งสูง เนื่องจาก ประเทศเหล่านี้พึ่งพิงการช่วยเหลือจากต่างชาติ เช่น ไลบีเรีย
                                 อัฟกานิสถาน บูรุนดี และซูดานใต้  การจ่ายหนี้คืนก็จะเป็นไปได้ยากขึ้น นอกจากนี้

                                 ประเทศที่มีเครดิตไม่ดี จะไม่สามารถยืมเงินไปฟื้นคืนเศรษฐกิจอันจะส่งผลต่อความไม่
                                 มั่นคงทางการเมือง จลาจลและความรุนแรง เช่น ประเทศบราซิล ปากีสถาน

                                 อาร์เจนตินาและเวเนซูเอลา (IEP,2020)

                              4.  ผลกระทบความไม่มั่นคงทางอาหาร ประเทศที่ยังคงมีความขัดแย้ง จะมีคนตายจากการ
                                 ขาดอาหารเพิ่มมากขึ้นเป็นทวีคูณ เช่น ประเทศใน ทวีปแอฟริกา เศรษฐกิจที่ถดถอยจะ

                                 ส่งผลกระทบอย่างมากต่อความมั่นคงทางอาหาร (Interpeace, 2020)
                              5.  ผลกระทบด้านเพศ (gender) 5.1 เพศหญิงได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก จากด้าน

                                 สุขภาพ การศึกษา เศรษฐกิจ เช่น การกักตัวท าให้ผู้หญิงท้องเข้าไม่ถึงบริการสุขภาพ 5.2
   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71