Page 260 - 22825_Fulltext
P. 260
6-17
ของความแตกต่างให้เกิดการสร้างสรรค์ ด้วยการร่วมมือร่วมใจกัน สันติภาพของโลกจะเกิดขึ้นได้
อย่างแท้จริง ความหลากหลายทางวัฒนธรรมยังรวมถึงการยอมรับการดำรงอยู่ของความหลากหลาย
และรวมถึงการเรียกร้องให้รัฐรับรองและปกป้องสิทธิในการดำรงไว้ซึ่งอัตลักษณ์และวัฒนธรรมของชน
กลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆด้วย ตัวชี้วัดที่พึงเฝ้าระวังคือP3.1 มุมมองต่อการยอมรับให้บุคคลที่มีลักษณะ
แตกต่างจากคนทั่วไปมีบทบาททางสังคมและการเมือง กลุ่มที่ไม่ได้รับการยอมรับมากที่สุดคือ แรงงาน
ต่างด้าว และพวกยึดถือชาตินิยมสุดโต่ง สำหรับ P3.4 มุมมองต่อเสรีภาพของสื่อมวลชนและ P3.3
มุมมองต่อเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมือง น่าจับตาว่าเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมือง
และเสรีภาพของสื่อมวลชน ที่ได้คะแนนลดลง รวมถึงตัวชี้วัด P3.10 จำนวนคดีและการบังคับใช้
กฎหมายตามมาตรา 112 จะส่งผลต่อการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนในด้าน
การเมือง ในส่วนของ P3.5 มุมมองด้านพหุวัฒนธรรม การยอมรับให้มีการตั้งศาสนาสถานอื่นในชุมชน
ของผู้ตอบ ได้คะแนนลดลง สะท้อนถึงมุมมองที่ยังไม่เปิดกว้างอย่างเต็มที่ในการยอมรับให้มีการตั้งศา
สนสถานอื่นในชุมชนของตน
4) ตัวชี้วัด P4 มีความเ ลื่อมล้ำในสังคมน้อยและมีการกระจายทรัพยากรที่เป็นธรรม
ตัวชี้วัดองค์ประกอบที่มีระดับคะแนนสันติภาพสูงขึ้น ได้แก่ มุมมองต่อความเหลื่อมล้ำในสังคม การ
เข้าถึงโครงสร้างพื้นฐาน ช่องว่างความยากจน ความเหลื่อมล้ำด้านทรัพย์สินการเงิน การเข้าถึง
หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า การเรียนต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และจำนวนเด็กหลุดอออก
จากระบบการศึกษา มีระดับคะแนนสันติภาพสูงขึ้น ชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำใน
มิติต่าง ๆ ลดน้อยลง สำหรับตัวชี้วัดองค์ประกอบที่มีระดับคะแนนสันติภาพลดลง ได้แก่ ความเหลื่อม
ล้ำด้านรายได้ ความเหลื่อมล้ำด้านการถือครองที่ดิน และสัดส่วนแพทย์พยาบาลต่อประชากร แต่ทั้งนี้
หากพิจารณาภาพรวมด้านมีความเหลื่อมล้ำในสังคมน้อยและมีการกระจายทรัพยากรที่เป็นธรรม ปี
พ.ศ. 2564 ระดับคะแนนสันติภาพสูงขึ้น (3.35 คะแนน) เมื่อเทียบ ปี พ.ศ. 2562 (3.26 คะแนน)
รายละเอียดตามที่แสดงไว้ในตารางที่ 6.8