Page 253 - 22825_Fulltext
P. 253

6-10







                       เศรษฐศาสตร์และสันติภาพมีตัวชี้วัด 3 ตัวย่อยคือ 1 ดัชนีอายุคาดเฉลี่ย (ใช้ข้อมูลจาก
                       UNDP) 2. การเข้าถึงบริการภาครัฐ (ใช้ข้อมูลจาก V-Dem) 3.ความเท่าเทียมของโอกาส

                       (ใช้ข้อมูลจากFreedom House)

                               3. แหล่งข้อมูล/วิธีการเก็บข้อมูล การวัดสันติภาพระดับประเทศของไทย วัดโดยสถาบัน
                       พระปกเกล้า ใช้ข้อมูลรายงานจากหน่วยงานที่เก็บข้อมูลอยู่แล้ว ผสมกับการเก็บข้อมูลที่เป็น

                       การสำรวจความคิดเห็นของประชาชนจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในขณะที่การวัดสันติภาพเชิงบวก

                       โดยสถาบันเศรษฐศาสตร์และสันติภาพ ใช้ข้อมูลจากหน่วยงานที่จัดเก็บเสร็จเรียบร้อยแล้ว ไม่ได้ใช้
                       ข้อมูลจากการสำรวจความเห็น แต่ใช้ข้อมูลจากผู้ทรงคุณวุฒิ


                       6.3 สรุปผลภาพรวมดัชนีสันติภาพของประเทศไทย  (Thai Peace Index)

                              การศึกษาดัชนีสันติภาพของประเทศไทย เป็นการพัฒนาตัวชี้วัดและวัดระดับสันติภาพ
                       ในสังคมไทย ด้วยการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลด้านสันติภาพนำมาสู่การพัฒนาตัวชี้วัด กำหนดตัวชี้วัด

                       เกณฑ์การให้คะแนนและการคำนวณค่าคะแนนตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ให้มีความสอดคล้อง ชัดเจน

                       สามารถวัดระดับสันติภาพในสังคมไทยได้อย่างเหมาะสม การพัฒนาตัวชี้วัดด้านสันติภาพแบ่งตัวชี้วัด
                       ออกเป็น 4 ด้าน ประกอบด้วย 1) การไม่มีความรุนแรงทางกายภาพ (P1) 2) ความปลอดภัยและ

                       ความมั่นคงในสังคม (P2) 3) การยอมรับความหลากหลาย/ การไม่เลือกปฏิบัติ/การเคารพ

                       สิทธิมนุษยชน (P3) และ 4) มีความเหลื่อมล้ำในสังคมน้อยและมีการกระจายทรัพยากรที่เป็นธรรม
                       (P4) ประกอบด้วยตัวชี้วัดองค์ประกอบย่อย จำนวน 34 ตัวชี้วัด ดังนี้

                              ด้านที่ 1 การไม่มีความรุนแรงทางกายภาพ ตัวชี้วัดองค์ประกอบ จำนวน 5 ตัวชี้วัด

                              ด้านที่ 2 ความปลอดภัยและความมั่นคงในสังคม ตัวชี้วัดองค์ประกอบ จำนวน 9 ตัวชี้วัด
                              ด้านที่ 3 การยอมรับความหลากหลาย/การไม่เลือกปฏิบัติ/การเคารพสิทธิมนุษยชน ตัวชี้วัด

                       องค์ประกอบ จำนวน 10 ตัวชี้วัด

                              ด้านที่ 4 มีความเหลื่อมล้ำในสังคมน้อยและมีการกระจายทรัพยากรที่เป็นธรรม ตัวชี้วัด
                       องค์ประกอบ จำนวน 10 ตัวชี้วัด

                              โดยมีการรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลจากการสำรวจทั่ว

                       ประเทศ โดยสรุปผลการศึกษานำเสนอผลการศึกษาแบ่งออกเป็น 4 หัวข้อ ดังนี้
                       6.3.1 สรุปผลภาพรวมระดับคะแนนสันติภาพของประเทศไทย

                              ภาพรวมระดับคะแนนสันติภาพของปี พ.ศ.2564 และปี พ.ศ.2562 ตัวชี้วัดด้านสันติภาพ

                       พบว่า ภาพรวมของประเทศไทยระดับคะแนนสันติภาพเพิ่มสูงขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับ ปี พ.ศ.2562
                       ซึ่งมีระดับคะแนนสันติภาพเท่ากับ 3.37 คะแนน ปี พ.ศ.2564 ระดับคะแนนสันติภาพเท่ากับ 3.42

                       คะแนน ส่งผลให้ระดับคะแนนสันติภาพในภาพรวมของประเทศในปี พ.ศ.2564 เพิ่มขึ้น แต่ทั้งนี้ยังถือ
   248   249   250   251   252   253   254   255   256   257   258