Page 9 - 22665_Fulltext
P. 9
ช
เป็นจ านวนมาก จึงมีลักษณะเป็นพื้นที่ชุมชนเมือง ในส่วนของกลุ่มอาชีพ ต าบลท่าศาลา มีการจัดตั้ง
กลุ่มอาชีพหลายสิบกลุ่ม
2. ศึกษากระบวนการจัดการความขัดแย้งและการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชุมชน
กล่าวถึงความขัดแย้งในชุมชนทั้งสองแห่งมีความรุนแรงเกิดขึ้นในอดีต จากปัจจัยที่
แตกต่างกัน กล่าวคือ ชุมชนบักดอง ได้รับผลกระทบจากการสู้รบกันระหว่างรัฐบาลไทยกับกัมพูชา ใน
เรื่องความมั่นคง เป็นปัจจัยภายนอกที่ชุมชนไม่สามารถควบคุมได้ เป็นการปกป้องอธิปไตยของทั้งสอง
ประเทศแต่ส่งผลกระทบต่อคนในชุมชนต้องอพยพชั่วคราวจากเหตุการณ์ดังกล่าวในช่วงสิบปีที่ผ่านมา
ในขณะที่ชุมชนท่าศาลา ในอดีต การเมืองท้องถิ่นในต าบลท่าศาลาแรงมากเป็นความขัดแย้งที่ถึงตาย
โดยผู้น าชุมชนจะถูกท าร้ายถึงชีวิตหลายคน จากหลายเหตุการณ์ แต่ความรุนแรงทั้งสองชุมชนใน
ปัจจุบันคลี่คลายลงไป ไม่มีความรุนแรงดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
ความขัดแย้งในชุมชนทั้งสองแห่งไม่ได้เป็นความขัดแย้งยืดเยื้อด้านชาติพันธุ์ที่จะมีโอกาส
ลุกลามขยายตัวกลายเป็นความรุนแรงได้มากขึ้น แต่เป็นความขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์ เรื่องของ
อารมณ์ความรู้สึก การวิเคราะห์ความขัดแย้งทั้งสองกรณีนั้น ผู้น าชุมชนจะมีการวิเคราะห์ก่อนเข้าไป
จัดการกับปัญหา จะพิจารณาดูก่อนว่าเป็นความขัดแย้งเรื่องใด แบบใด สาเหตุเกิดจากอะไร
แม้กระทั่งลงไปศึกษาอย่างจริงจังในทะเล ในป่า และยังมีการวิเคราะห์ว่าจ าเป็นต้องใช้คนกลางท่าน
อื่นมาร่วมด้วยไหม เช่น ผู้น าจิตวิญญาณ แต่ไม่ได้วิเคราะห์ตามแบบของตะวันตก เช่น การพิจารณา
ประวัติศาสตร์ ประเมินทางเลือก จุดยืน จุดสนใจ หรือใช้เครื่องมือที่หลากหลายมากกว่าสิบเครื่องมือ
ในการวิเคราะห์ความขัดแย้ง ซึ่งผู้วิจัยก็เห็นว่าไม่จ าเป็นต้องท าตามกรอบของตะวันตก แต่อาจใช้เป็น
แนวทางได้บ้าง การวิเคราะห์ความขัดแย้งจึงเป็นการจัดการในบริบทท้องถิ่น
ความขัดแย้งและกลไกแก้ไขความขัดแย้งในพื้นที่ชุมชนบักดอง มีความขัดแย้งในพื้นที่มี
หลายเรื่อง หลายเรื่องคลี่คลายไปแล้ว บางเรื่องยังด ารงอยู่ เช่น ความขัดแย้งของผู้น าท้องที่ ความ
ขัดแย้งเรื่องการซื้อขายที่อยู่อาศัยให้กับคนที่ไม่มีสิทธิ ความขัดแย้งในเรื่องที่ท ากินเรื่องเขตแดนและ
การรุกล้ าเขตแดน เรื่องการไม่มีเอกสารสิทธิ์ ความขัดแย้งเรื่องการจัดการป่า การใช้ทรัพยากรป่าไม้
การบุกรุกพื้นที่ป่า ความขัดแย้งในด้านชาติพันธุ์ ความขัดแย้งจากการทะเลาะวิวาทของเด็กวัยรุ่น
เยาวชน ส าหรับ การจัดการความขัดแย้งและการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท มีการผสมผสานในรูปแบบของ
คณะกรรมการ มีการให้บทบาทของผู้อาวุโสเป็นคนกลาง มีการตั้งและใช้ศาลหมู่บ้าน มีการขอขมา
กัน ภายหลังจากไกล่เกลี่ยมีการติดตามประเมินผลภายหลังจากไกล่เกลี่ยข้อพิพาทและ มีการเสริม
ด้วยการ ช่วยสร้างงานสร้างอาชีพให้ ในเรื่องทรัพยากรธรรมชาติเช่น ป่า มีการท าเป็นป่าชุมชนเพื่อ
ป้องกันการบุกรุกพื้นที่ป่า และมีการร่วมกันใช้ทรัพยากรกันในชุมชนอย่างยั่งยืน
ความขัดแย้งและกลไกแก้ไขความขัดแย้งในพื้นที่ต าบลท่าศาลา มีความขัดแย้งหลาย
กรณี หลายเรื่องคลี่คลายไปแล้ว บางเรื่องยังด ารงอยู่ ได้แก่ ความขัดแย้งในครอบครัว ความขัดแย้ง