Page 5 - 22665_Fulltext
P. 5
ค
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งและการไกล่เกลี่ย
ข้อพิพาทในชุมชน 2) ศึกษากระบวนการจัดการความขัดแย้งและการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชุมชน
บทความวิจัยเชิงคุณภาพนี้ ใช้การสนทนากลุ่ม สัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และสังเกตการณ์แบบไม่มี
ส่วนร่วมร่วม มีกลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ผู้น าชุมชนที่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ภาคประชาสังคม และผู้น า
ศาสนารวมถึงประชาชนทั่วไปในชุมชน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้หลักการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาเชื่อมโยง
แนวคิดกับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นว่ามีความสอดคล้องกันหรือไม่ อย่างไร ผลการวิจัย 1) บริบททั่วไปที่
เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งและการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชุมชน ทั้งสองแห่งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และ
วัฒนธรรมมีทั้งความเหมือนและความแตกต่าง 2) ความขัดแย้งในชุมชนทั้งสองแห่งไม่ได้เป็นความ
ขัดแย้งยืดเยื้อด้านชาติพันธุ์ที่จะมีโอกาสลุกลามขยายตัวกลายเป็นความรุนแรงได้มากขึ้น แต่เป็นความ
ขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์ เรื่องของอารมณ์ความรู้สึก ขั้นตอนของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททั้งสองพื้นที่
แบ่งได้เป็นขั้นตอนก่อนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท โดยมีการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการจัดการความ
ขัดแย้ง ขั้นตอนระหว่างการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท โดยเชิญคู่กรณีมาที่บ้านของผู้น า และขั้นตอนภายหลัง
การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท มีการติดตามผลภายหลังการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท การไกล่เกลี่ยข้อพิพาททั้งสอง
แห่ง มีการบูรณาการที่เชื่อมโยงการท างานระยะสั้น กลางและยาว ไม่ใช่เพียงแต่ได้บันทึกข้อตกลง
เท่านั้น และมีทั้งการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่เชื่อมโยงกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในวงกว้าง
ค าส าคัญ : การจัดการความขัดแย้ง; การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชุมชน; บ้านทับทิมสยาม 07; บ้านหน้าทับ