Page 10 - 22665_Fulltext
P. 10

ซ


                       ด้านที่ดิน ความขัดแย้งจากการแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติ ความขัดแย้งด้านสิ่งแวดล้อม ความขัดแย้ง
                       จากการสร้างโรงพยาบาล ความขัดแย้งจากการทะเลาะวิวาท  ในการจัดการความขัดแย้งมีการใช้

                       บริบทของมุสลิมตามหลักศาสนาอิสลามในการแก้ไขปัญหา ผ่านกลไกหมู่บ้านและมัสยิด มีโต๊ะอิหม่าม

                       และกรรมการมัสยิดซึ่งเป็นผู้น าจิตวิญญาณ  รวมถึงผู้น าท้องถิ่นและท้องที่ร่วมมือกัน บางครั้งใช้
                       บทบาทของเขาในการชี้น าในการหารือกันโดยใช้ความเป็นชุมชนที่มีความผูกพันทางสังคม  “Social

                       Tie” (ความสัมพันธ์แบบแนวนอน) แบบเครือญาติ มีการใช้การพัฒนาเข้าไปแก้ปัญหา เช่น การตัด

                       ถนนท าแนวเขตแก้ปัญหาการบุกรุกป่าชายเลน เป็นต้น คนกลางมีความเข้าใจสภาพของทะเล ด้วย
                       การลงไปในทะเลเพื่อเห็นสภาพปัญหาและพื้นที่ มีการใช้วิทยาศาสตร์เข้ามาช่วย  มองว่าทุกฝ่ายเป็น

                       ญาติและเพื่อน มีการประชุมร่วมกันอย่างสม่ าเสมอของกลุ่มผู้น าท้องถิ่นและท้องที่แบบสภาน้ าชา
                       กาแฟ ทุกวันเสาร์ที่บ้านนายกอบต.

                                  การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในทั้งสองพื้นที่ มีการบูรณาการที่เชื่อมโยงการท างานระยะสั้น
                       กลางและยาวคือมีการติดตามประเมินผล  ไม่ใช่เพียงแต่ได้บันทึกข้อตกลงเท่านั้น และเชื่อมโยงการ

                       เจรจาที่มีประสิทธิภาพ (คู่กรณีพึงพอใจ) กับการส่งเสียงหรือการมีส่วนร่วมของประชาชน   ในชุมชน

                       บักดองมีการติดตามผลภายหลังการไกล่เกลี่ยเสร็จสิ้น และเข้าไปช่วยหนุนเสริมด้านอาชีพ หากคู่กรณี
                       มีความขัดสนเรื่องรายได้ และเชื่อมโยงการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทกับการมีส่วนร่วมผ่านกรณีการใช้

                       ทรัพยากรป่าชุมชนด้วยการประชาคม  ในส่วนของชุมชนท่าศาลา มีการประชาคมในเรื่องส าคัญ เช่น

                       การขอสัมปทานจับสัตว์น้ าทางทะเล เมื่อได้ข้อสรุป มีข้อตกลงแล้ว จะมีการปฏิบัติตามนั้น โดยเน้น
                       การใช้ทรัพยากรภายในชุมชน ไม่ให้คนนอกเข้ามาแย่งชิงทรัพยากรทางทะเล ส่วนการติดตามผล

                       สามารถท าได้หลายช่องทางทั้งในการประชุมทางไลน์ของกลุ่มผู้น า การประชุมอย่างสม่ าเสมอที่บ้าน
                       ผู้น าท้องถิ่น และการประชุมคณะกรรมการหมู่บ้าน  ส าหรับการป้องกันความขัดแย้งไม่ให้ขยายตัว

                       เป็นความรุนแรง มีการใช้กลไกป้องกันความขัดแย้งในทั้ง 2 พื้นที่ มีการพัฒนาศักยภาพของคนใน
                       ชุมชน มีการท างานร่วมกันแบบเครือข่ายบูรณาการภาครัฐ และ ประชาสังคม มีการใช้ประเพณี และ

                       ความเข้าใจในวิถีชุมชนในการอยู่ร่วมกัน และมีการรวมกลุ่มเพื่อสร้างงานสร้างอาชีพ

                                  3.ข้อเสนอแนะ
                                     3.1 ข้อเสนอแนะต่อบริบททั่วไปที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งและการไกล่เกลี่ยข้อ

                       พิพาทในชุมชน

                                         3.1.1 ส่งเสริม ผลักดันแนวคิดวัฒนธรรมชุมชนเป็นทุนในการจัดการความ
                       ขัดแย้ง  ชุมชนที่มีความเป็นญาติ ความเป็นศาสนา ความเชื่อ วิถีชีวิตแบบดั้งเดิมคล้ายๆกัน เช่น ที่ท่า

                       ศาลา ควรส่งเสริมกิจกรรมที่มุ่งให้เกิดการรักษาระบบวัฒนธรรมชุมชนที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดการ
                       ความขัดแย้ง ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมประเพณี ศาสนา การศึกษา วรรณกรรม ในส่วนของบักดองที่มี

                       ความหลากหลายทางชาติพันธุ์ก็เช่นกัน สามารถส่งเสริมผลักดันแนวคิดวัฒนธรรมชุมชนเป็นทุนใน
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15