Page 7 - 22665_Fulltext
P. 7
จ
บทสรุปผู้บริหาร
รายงานวิจัยเรื่องนี้เป็นโครงการวิจัยย่อย ภายใต้โครงการวิจัยถอดบทเรียนชุมชนสันติ
สุข โดยเน้นศึกษาการจัดการความขัดแย้งด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับ
ภาคใต้ กรณีบ้านทับทิมสยาม07 ต าบลบักดอง อ.ขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ และบ้านหน้าทับ ต.ท่า
ศาลา อ.ท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช การศึกษากระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทจากพื้นที่ดังกล่าว
เป็นการถอดบทเรียนภายใต้บริบทของชุมชนสันติสุขและพหุวัฒนธรรม ซึ่งมีความแตกต่างหลากหลาย
ทางทางวัฒนธรรม อัตลักษณ์ ศาสนา และชาติพันธุ์
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาบริบทที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งและการไกล่
เกลี่ยข้อพิพาทในชุมชน 2. ศึกษากระบวนการจัดการความขัดแย้งและการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชุมชน
3. เสนอแนะแนวทางในการจัดการความขัดแย้งด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท และการอยู่ร่วมกันภายใต้
ความแตกต่างหลากหลายชุมชน
งานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้การสนทนากลุ่ม มีผู้เข้าร่วมประมาณ 10 –
15 คน และการสัมภาษณ์เชิงลึกด้วยแบบสอบถามแบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-Structure Interview)
โดยเน้นการถามค าถามปลายเปิด และได้อาศัยการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วมร่วมด้วย การ
วิเคราะห์ข้อมูลใช้หลักการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา เชื่อมโยงแนวคิดกับปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นว่ามีความ
สอดคล้องกันหรือไม่ อย่างไร และมีการตรวจสอบสามเส้าของข้อมูล
ขอบเขตในการศึกษา ประกอบด้วย1.ขอบเขตด้านพื้นที่ 2.ขอบเขตด้านเวลา 3.
ขอบเขตด้านผู้ให้ข้อมูล
1. ขอบเขตด้านพื้นที่ ตามเกณฑ์ที่ก าหนดไว้ 1) ต้องเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทาง
วัฒนธรรม ศาสนา และชาติพันธุ์ ในขณะเดียวกันก็เคารพความแตกต่างหลากหลายของอัตลักษณ์อื่น
ที่แตกต่างจากตน 2) ต้องเป็นพื้นที่ที่ผู้คนที่แตกต่างหลากหลายมีโอกาส หรือกิจกรรมร่วมกัน มี
ปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชน3) ต้องเป็นพื้นที่ที่ผู้คนในชุมชนมีกิจกรรม
ทางเศรษฐกิจฐานรากที่ช่วยเสริมสร้างรายได้แก่คนในชุมชน 4) ต้องเป็นพื้นที่ที่มีกระบวนการการ
จัดการความขัดแย้งด้วยแนวทางที่มาจากการตัดสินใจร่วมกันจากคนในชุมชน 5) ต้องเป็นพื้นที่ที่
สามารถอยู่ร่วมกันภายใต้ความแตกต่างหลากหลายได้อย่างสันติสุขและสงบสุข
2. ขอบเขตด้านเวลา งานวิจัยดังกล่าวต้องการให้ชุมชนสะท้อนภาพให้เห็นถึงการก่อตัว
ของชุมชนสันติสุข เพื่อให้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของชุมชนโดยภาพรวม พลวัตและพัฒนาการ
ในการสร้าง/ก่อตัวของชุมชนให้เกิดสันติสุขในช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา (2553 – 2563)
3. ขอบเขตด้านผู้ให้ข้อมูล งานวิจัยชิ้นนี้มีกลุ่มเป้าหมายในการศึกษา คือ ประชากรที่
อยู่ในพื้นที่ที่ศึกษา แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มเป้าหมาย ดังต่อไปนี้คือ กลุ่มที่ประชาชนทั่วไป กลุ่มนักพัฒนา