Page 20 - 22665_Fulltext
P. 20

3


                       บริหารจัดการและการพัฒนาประเทศในทุก ๆ ด้าน ด าเนินไปได้อย่างต่อเนื่องและราบรื่นตามหลัก
                       ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นกุญแจส าคัญที่จะน าไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่าง

                       ยั่งยืน

                                  ด้วยบริบทพื้นที่ของประเทศไทยที่มีความแตกต่างหลากหลาย นับเป็นสิ่งที่ท้าทายอย่างยิ่ง
                       ในยุทธศาสตร์ชาติเน้นส่งเสริมการสร้างความเข้มแข็งผ่านชุมชนเป็นฐาน และได้เน้นการเสริมสร้าง

                       สันติสุขในสามจังหวัดชายแดนใต้  ภาคเหนือที่ประกอบไปด้วยผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์ทั้งจากพื้น

                       ราบและบนภูเขาที่อยู่ร่วมกันได้มาอย่างยาวนาน ภาคอีสานเป็นภาคที่รุ่มรวยไปด้วยวัฒนธรรมที่
                       ผสมผสานกันอย่างหลากหลายและลงตัว ภาคกลางที่ความหลากหลายทางศาสนาและสามารถอยู่

                       ร่วมกันได้และภาคใต้ ทั้งภาคใต้ตอนบนที่มีความขัดแย้งเกิดขึ้นบ่อยครั้ง รวมถึงสามจังหวัดชายแดนที่
                       แม้จะมีความไม่สงบที่เกิดขึ้นหลายครั้ง แต่ความหลากหลายทางพหุวัฒนธรรมในพื้นที่ได้สร้างเกราะ

                       ป้องกันในการป้องกันความรุนแรงมาได้เช่นกัน การสร้างสันติภาพขึ้นมาโดยใช้ชุมชนเป็นฐานในการ
                       ออกแบบสันติสุขด้วยคนในชุมชนเอง พบว่าในหลายพื้นที่ของประเทศไทยสามารถสร้างได้ และ

                       กลายเป็นพื้นที่ของการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ที่เน้นไปยังการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เช่น ชุมชนย่าน

                       กุฎีจีน ชุมชนย่านคลองตะเคียน และชุมชนอ าเภอละงู ชุมชนบ้านพงสะตือ อ าเภอตรอน จังหวัด
                       อุตรดิตถ์ หรือในสามจังหวัดชายแดนใต้สามารถจัดการความไม่ไว้วางใจและสลายความหวาดระแวง

                       เหล่านี้ลงได้ ทั้งยังสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข เช่น ชุมชนจัดการตนเอง อ าเภอกาบัง จังหวัด

                       ยะลา ที่เป็นต้นแบบให้กับหลายชุมชนในสามจังหวัดด้านเครือข่ายสุขภาวะชุมชน ที่ดึงคนในชุมชนทั้ง
                       ชาวไทยพุทธ ไทยจีน มลายูมุสลิมเข้ามามีส่วนร่วมในพื้นที่ ชุมชนบ้านกลาง อ าเภอปานาเระ จังหวัด

                       ปัตตานี ที่นับเป็นหมู่บ้านไทยพุทธที่อาศัยอยู่ร่วมกับชาวมลายูมุสลิมอย่างสงบสุขมาเป็นระยะเวลาช้า
                       นาน และต าบลเจ๊ะเห อ าเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ที่น าประวัติศาสตร์เรื่องเล่ามาเป็นฐานในการ

                       สร้างชุมชนที่เข้มแข็งและอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขได้
                                  งานวิจัยชิ้นนี้จึงมีเป้าหมายเพื่อสร้างต้นแบบชุมชนพหุวัฒนธรรมในการอยู่ร่วมกันของ

                       ชุมชนสันติสุขที่มีความแตกต่างกันทั้งด้านศาสนาและชาติพันธุ์แต่สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข

                       และไว้ใจกันในพื้นที่ 4 ภูมิภาคของประเทศไทย คือ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง
                       และภาคใต้ (ตอนบนและตอนล่าง) ใน 5 จังหวัด คือ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ศรีสะเกษ ปทุมธานี

                       นครศรีธรรมราช และนราธิวาส ซึ่งเป็นพื้นที่ที่สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมจากคนในชุมชนที่มีความ

                       แตกต่างหลากหลายจนสามารถสร้างชุมชนสันติสุขขึ้นมาได้อย่างเป็นรูปธรรม และเป็นส่วนหนึ่งในการ
                       เป็นพื้นที่หนุนเสริมสันติภาพเชิงบวกด้วย งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อถอดบทเรียนชุมชนสันติสุขใน

                       ประเทศไทย ใน 5 จังหวัด ได้แก่ แม่ฮ่องสอน ศรีสะเกษ นครศรีธรรมราช นราธิวาส และปทุมธานี อัน
                       จะน าไปสู่การสร้างต้นแบบชุมชนสันติสุขในการอยู่ร่วมกันของคนในชุมชนที่มีความแตกต่างกันแต่

                       สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25