Page 18 - 22665_Fulltext
P. 18
บทที่ 1
บทน า
1.1 ที่มาและความส าคัญของงานวิจัย
ความโกลาหลของโลกในศตวรรษที่ 21 มีความวุ่นวายและซับซ้อนที่เกิดขึ้นจากความ
เลื่อนไหลของความคิด ข้อมูล ข่าวสาร ผู้คน และเงินตรา ที่ท าให้โลกต้องเผชิญหน้ากับความวุ่นวาย
ระลอกใหญ่ในรูปแบบใหม่ ความวุ่นวายเหล่านี้ท าให้ต้องหวนกลับมาทบทวนถึงคุณค่าและข้อเท็จจริง
อันเป็นสาระส าคัญในการด ารงอยู่เพื่อจะสร้างสันติสุขในการอยู่ร่วมกันภายใต้สภาวการณ์เหล่านี้
แม้ความขัดแย้งจะเป็นเรื่องธรรมชาติ แต่ด้วยโลกาภิวัตน์ที่ท าให้ความขัดแย้งเข้มข้นขึ้น
แตกต่างจาก ในอดีตที่การด าเนินชีวิตเป็นไปในทิศทางเดียวกัน การท างานเป็นไปในลักษณะถ้อยที
ถ้อยอาศัย แต่เมื่อความเป็นสมัยใหม่เข้ามาเป็นกรอบในการพัฒนาประเทศก็ท าให้ทรัพยากรถูกแบ่ง
และแย่งชิงจนก่อให้เกิดความไม่เสมอภาคตามมา และหลายครั้งที่ความไม่เสมอภาคเหล่านั้นก่อให้เกิด
ความขัดแย้ง เช่น ความขัดแย้งทางการเมือง ความขัดแย้งทางสังคม วัฒนธรรม ความขัดแย้งด้านช่วง
วัย - อายุ ความขัดแย้งด้านเศรษฐกิจ ความขัดแย้งด้านทรัพยากรธรรมชาติ จนหลาย ๆ ครั้งน ามาสู่
ความรุนแรงในท้ายที่สุด การเติบโตทางเศรษฐกิจโดยการพัฒนาของรัฐตามแนวทางของเสรีนิยมนั้น
ท าให้ประชาชนไม่มีโอกาสในการจัดสรรแบ่งส่วนอย่างเต็มที่ จนเกิดการตั้งค าถามกับทางภาครัฐ
ผลจากการพัฒนาประเทศในช่วงกว่าสามทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งใช้แนวทางการพัฒนา
ประเทศไปสู่ภาวะทันสมัย ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 - 7 ได้ก่อให้เกิด
ความเปลี่ยนแปลงแก่สังคมไทยอย่างมากมาย ทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม สังคมและ
สิ่งแวดล้อมซึ่งผลจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ท าให้เราได้เห็นตัวเลขของอัตราการเจริญเติบโตทาง
เศรษฐกิจที่สูงขึ้น ความเจริญของถนน ไฟฟ้า น้ าประปา ระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ การขยาย
การศึกษาไปสู่เด็กและเยาวชนในวัยเล่าเรียนอย่างทั่วถึง ท าให้อัตราการอ่านออกเขียนได้ของ
ประชากรอยู่ในระดับสูงขึ้น ทั้งนี้จากผลพวงของกระบวนการเปลี่ยนแปลงของสังคมก็ยังมีผลติดลบ
ตามมาจากการมุ่งส่งเสริมการผลิตทางอุตสาหกรรมของภาคเมือง การส่งเสริมการเกษตรแผนใหม่เพื่อ
การค้าและการส่งออกรวมถึงการขยายตัวของรัฐเข้าไปในชนบท ได้ส่งผลให้ชุมชนในชนบทเกิดภาวะ
อ่อนแอในหลาย ๆ ด้านอีกทั้งความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ฯลฯ ทั้งนี้ผล
พวงจากการพัฒนาดังกล่าวท าให้มีการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ การพัฒนาที่เน้นคนเป็นศูนย์กลาง
การพัฒนา การเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวและชุมชน การสร้างโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วม
ในการพัฒนาท้องถิ่นของตนเองและสังคม พร้อมทั้งการกระจายโอกาสและความเจริญด้วยการพัฒนา
พื้นที่ในภูมิภาค การพัฒนาการมีส่วนร่วมในการพัฒนาและการกระจาย การพัฒนาด้วยการเพิ่ม
ศักยภาพขององค์กรชุมชน การสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้และขยายเครือข่ายการเรียนรู้ของชุมชน
ประเด็นเรื่อง ชุมชนเข้มแข็งจึงถูกหยิบยกขึ้นมากล่าวถึง ซึ่งได้ปรากฏในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ