Page 19 - 22665_Fulltext
P. 19

2


                       สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (2540 - 2544) ซึ่งแนวทางหลัก ๆ ในการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน คือ
                       (1) การเตรียมความพร้อมของชุมชน (2) การเพิ่มศักยภาพขององค์กรชุมชน (3) การสนับสนุนธุรกิจ

                       เอกชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาธุรกิจชุมชนตามความพร้อม ความถนัด และความสมัครใจใน

                       แต่ละองค์กรธุรกิจ (4) การเพิ่มบทบาทของภาครัฐในการสร้างความเข้มแข็งขององค์กรชุมชน และที่
                       ส าคัญ คือ (5) การสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้และขยายเครือข่ายการเรียนรู้ของประชาชนและ

                       ชุมชนในชนบท และสืบต่อมาถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (2560 - 2564) ที่

                       ให้ความส าคัญกับการสร้างชุมชนเข้มแข็งให้เป็นพลังร่วมทางสังคมในการสนับสนุนการพัฒนาโดย
                       ส่งเสริมการประกอบอาชีพ การส่งเสริมให้ชุมชนจัดสวัสดิการและบริการในชุมชนและ

                       การสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้และขยายเครือข่ายการเรียนรู้ของชุมชน (ส านักงานคณะกรรมการ
                       พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2560) จนท าให้เกิดแนวทางของชุมชนนิเวศวัฒนธรรมเกิดขึ้น

                       อย่างเข้มแข็งมากขึ้น โดยชุมชนเริ่มลุกขึ้นมาปกป้องตนเองและสร้างชุมชนที่เข้มแข็งโดยใช้ชุมชนเป็น
                       ฐาน

                                  การใช้ชุมชนเป็นฐานผ่านแนวคิด “ชุมชนจัดการตนเอง” ไม่ใช่สิ่งใหม่ มีเป้าหมายเพื่อ

                       สร้างชุมชนท้องถิ่นที่มีจิตสาธารณะ รู้เป้าหมาย เชื่อมั่นในวิถีพลังชุมชน มีความสามารถในการบริหาร
                       จัดการชุมชนอย่างมีส่วนร่วม และจัดความสัมพันธ์กับภาคี ใช้ข้อมูล แผนการจัดการความรู้และทุน

                       ทางวัฒนธรรมในชุมชนเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชนในทุกด้านอย่างเป็นระบบ เพื่อการเปลี่ยนแปลง

                       เชิงโครงสร้างและการพัฒนาอย่างยั่งยืน จากนิยามดังกล่าวจะเห็นได้ว่าการกระจายอ านาจไปสู่
                       ท้องถิ่นตามวิถีของประชาธิปไตยนั้นเป็นปัจจัยส าคัญที่จะท าให้ชุมชนเข้มแข็งผ่านการจัดการตนเอง

                       ด้วยการมีส่วนร่วม เมื่อชาวบ้านทุกคนในชุมชนมีสิทธิ์มีเสียง มีอ านาจในการจัดการหมู่บ้านและชุมชน
                       ของตนเอง เคารพเสียงส่วนใหญ่ ก็จะน ามาซึ่งความเข้มแข็งของชุมชนที่สามารถดึงคนที่หลากหลาย

                       ชาติพันธุ์ ศาสนา เข้ามามีส่วนร่วมได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล อันจะสามารถสร้างความ
                       ปลอดภัยและสันติสุขในพื้นที่ชุมชนขึ้นมาเองได้ตามแนวทางของยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยด้านความ

                       มั่นคง ยิ่งหากพิจารณาในยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์นั้น

                       ได้มุ่งปรับเปลี่ยนค่านิยมและวัฒนธรรมโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน โดยเน้นพัฒนาผู้น าให้เป็นต้นแบบของ
                       การมีคุณธรรมจริยธรรม การสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนในการจัดกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ การ

                       จัดระเบียบสังคม และการน าเยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมในการท ากิจกรรม รวมถึงการลงโทษ ผู้ละเมิด

                       บรรทัดฐานที่ดีทางสังคม การเน้นชุมชนเป็นฐานเหล่านี้จะน ามาซึ่งการสร้างสังคมอย่างสันติสุขต่อ
                       ประเทศไทยในภาพรวม นอกจากนั้นแล้วการสร้างความปลอดภัยและสันติสุขอย่างถาวรในพื้นที่

                       ชายแดนภาคใต้นับเป็นสิ่งส าคัญที่รัฐบาลให้ความใส่ใจ โดยได้ระบุไว้ในแผนยุทธศาสตร์ชาติด้านความ
                       มั่นคง ระบุว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง เพื่อแก้ไขปัญหาเดิมที่มีอยู่

                       อย่างตรงประเด็นจนหมดไปอย่างรวดเร็ว และป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาใหม่ขึ้นมาอันจะส่งผลให้การ
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24