Page 129 - 22376_fulltext
P. 129
เสริมสร้างพลังพลเมือง
จังหวัดร้อยเอ็ด
และกลุ่ม และนำกลวิธีหรือวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความรู้สึก ร่วมเพื่อ
ประโยชน์ส่วนรวม และดำเนินงานโดยทุนสังคม ใช้คนและทรัพยากร
ในชุมชนเป็นสำคัญ และมีลักษณะเป็นประชาธิปไตย (เสกสรรค์ สนวา
และคณะ, 2560) (วชิราภรณ์ สุรธนะสกุล และคณะ, 2560) และ
สอดคล้องกับงานศึกษาเชียงใหม่จัดการตนเอง ของ สวิง ตันอุด และคณะ
(2556) ซึ่งให้ข้อสรุปว่าสภาพลเมืองมีความเหมาะสมด้านการมีส่วนร่วม
และความเป็นเจ้าของของพลเมือง
อย่างไรก็ตาม จากแนวคิดของการสร้างพลเมืองในกระบวนการ
ทำงานแบบเป็นกลุ่มหรือชุมชนนั้น สภาพลเมืองยังไม่สามารถเชื่อมโยง
สมาชิกในกลุ่มและองค์กรชุมชนต่าง ๆ เข้าด้วยกัน อย่างมีเป้าหมายร่วมกัน
ได้อย่างแนบสนิท ทั้งนี้สภาพลเมืองร้อยเอ็ดอาจต้องทำงานและ
มีกระบวนการเคลื่อนไหวที่ต่อเนื่องจนเป็นวิถีของชุมชน ซึ่งจะทำให้เกิด
การเชื่อมโยงกับกลุ่มและองค์กรต่าง ๆ ขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ ซึ่งจะลด
การพึ่งความช่วยเหลือจากภายนอกในด้านต่าง ๆ ได้ในที่สุดด้วย
5.3 ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอสำหรับสภาพลเมือง
1. สภาพลเมืองสามารภสร้างพลังพลเมืองได้ตามเป้าหมายและ
เป็นไปอย่างเป็นธรรมชาติและรวมกลุ่มพลเมืองที่หลากหลายจาก
โรงเรียนพลเมืองที่เป็นประชาชนในชุมชนในตำบล ซึ่งเป็นความสำเร็จของ
การเสริมสร้างพลังพลเมืองให้กับประชาชนทั่วไปให้ได้รู้ว่าตนมีศักยภาพ
ในการมีส่วนร่วมและสามารถมีส่วนร่วมระดับการเสนอข้อเสนอ
สถาบันพระปกเกล้า
สถาบันพระปกเกล้า
11