Page 131 - 22376_fulltext
P. 131
เสริมสร้างพลังพลเมือง
จังหวัดร้อยเอ็ด
มีบทบาทซ้ำซ้อนกัน การขับเคลื่อนจะมีความเป็นไปได้น้อย ดังนั้น
สภาพลเมืองต้องเลือกประเด็นที่เป็นเข็มมุ่งเพื่อหาข้อเสนอที่ชัดเจน
3. การเสริมสร้างพลังพลเมือง (Citizen Empowerment) ของ
สภาพลเมืองต้องผลักดันให้ถึงความหมายของการใช้อำนาจของพลเมือง
ที่แท้จริง โดยชักชวนสมาชิกและพลเมืองร่วมก้นติดตามการนำข้อเสนอ
เชิงนโยบายของพลเมืองไปสู่การกำหนดเป็นนโยบายสาธารณะโดย
หน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ และติดตามการบังคับใช้ ซึ่งเป็นบทบาทหน้าที่
ของพลเมืองในการติดตามกำกับและตรวจสอบที่สำคัญ และหากเกิด
ความสำเร็จจากการรับข้อเสนอเชิงนโยบายไปกำหนดเป็นนโยบาย
สาธารณะ การนำนโยบายสาธารณะไปใช้เพื่อแก้ปัญหา จะยกระดับ
การเสริมสร้างพลังพลเมืองและจะเหนี่ยวนำให้พลเมืองมีความกระตือรือร้น
และมีความเชื่อมั่นตนเองในฐานะพลเมืองมากขึ้น
ข้อเสนอต่อการพัฒนาสภาพลเมือง หรือสมัชชาพลเมือง
ในเชิงนโยบายหรือการนำไปใช้เป็นตัวแบบในพื้นที่อื่น
1. การส่งเสริมให้เกิดสภาพลเมืองเพื่อส่งเสริมพลังพลเมืองในพื้นที่
อื่น ๆ พื้นที่สาธารณะที่จะทำหน้าที่คล้ายหรือเป็นสภาพลเมืองต้องมี
ลักษณะตามแบบ KRATIB คือ ต้องให้มีความรู้ มีพื้นที่สาธารณะ
มีเป้าหมายร่วม มีความไว้วางใจในการทำงาน มีความต้องการจากภาย
ไม่พึ่งพา และเป็นประเด็นของชุมชนเพื่อชุมชนเองทั้งทางเศรษฐกิจ
การเมืองและสังคม และควรมีลักษณะของการรวมตัวกันที่ประกอบทั้ง
ระดับบุคคลและระดับชุมชน คือ มีพลเมืองที่มีจิตสาธารณะ และมีพื้นที่
สาธารณะที่สนับสนุนพลเมืองเหล่านั้น เช่น ที่เกิดขึ้นสภาพลเมืองของ
ภาคประชาสังคมในเชียงใหม่ หรือสภาเมืองที่ภาครัฐเป็นพื้นที่ให้ประชาชน
เข้าร่วม
สถาบันพระปกเกล้า
สถาบันพระปกเกล้า
11