Page 119 - 22376_fulltext
P. 119
เสริมสร้างพลังพลเมือง
จังหวัดร้อยเอ็ด
การกระจายโครงการเป็นโครงการย่อยตามความต้องการทำให้
ทุกคนมีส่วนร่วมและมีโอกาสมากขึ้นในลักษณะแลกเปลี่ยนและสนับสนุน
เรียนรู้และบูรณาการความรู้ระหว่างกัน เกิดการต่อยอดความรู้ได้เป็น
เฉพาะกรณี
การประชุมและการสื่อสารมีการกำหนดให้เกิดขึ้นอย่าง
สม่ำเสมอและใช้ช่องทางต่าง ๆ ที่เอื้ออำนวย ทั้งทางออนไลน์และออฟไลน์
ทำให้เกิดการเรียนรู้ระหว่างกัน การกระตุ้นเตือนการทำงาน
การถ่ายทอดองค์ความรู้ โดยโครงการย่อยจะมุ่งพัฒนาให้เกิด
พื้นที่เรียนรู้ของโครงการเพื่อการเรียนรู้แบบต่อเนื่อง เพื่อพื้นที่ฝึกปฏิบัติ
เพื่อวิถีชีวิตพลเมืองที่อยู่ในชีวิตประจำวัน
กระบวนการทำงานที่มุ่งให้เกิดการมีส่วนร่วมระดับสูงของ
พลเมืองโดยการเสนอข้อเสนอเชิงนโยบาย เปรียบเป็นพื้นที่เรียนรู้ความเป็น
พลเมืองของสมาชิกและผู้เข้าร่วมโครงการได้ตระหนักในอำนาจและเชื่อมั่น
ในอำนาจของตนเอง พลเมืองได้เรียนรู้ การเสนอข้อเสนอเชิงนโยบาย และ
รูปแบบการเสนอนโยบายหรือกฎหมาย ทั้งหมดคือการฝึกปฏิบัติ
กระบวนการทำงานของสภาพลเมืองทำให้เกิดการเรียนรู้
ความเป็นพลเมืองที่มีความรู้ มีความกระตือรือร้น กำหนดตนเอง และมี
พลังอำนาจในการสร้างการเปลี่ยนแปลง อยู่ในทุกขั้นตอน
4.3.3 ด้านความต่อเนื่องของโครงการ
ประการที่ 1 ความต่อเนื่องในเชิงทรัพยากร และการขยายเชิงพื้นที่
สภาพลเมืองเป็นโครงการบูรณาการกับโครงการศูนย์พัฒนาการเมือง
ภาคพลเมือง โครงการปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมือง และโรงเรียน
พลเมือง ความเป็นไปได้ในการดำรงในสภาพลเมืองให้ต่อเนื่องสามารถ
สถาบันพระปกเกล้า
สถาบันพระปกเกล้า
10