Page 117 - 22376_fulltext
P. 117
เสริมสร้างพลังพลเมือง
จังหวัดร้อยเอ็ด
จะต้องมีการสร้างให้เข้มแข็ง เพิ่มพูนศักยภาพ ส่งเสริมศักยภาพ ให้ขยาย
ต่อสมาชิกอื่น ๆ ต่อไปด้วย
4.3.2 ด้านโครงสร้าง
สภาพลเมือง เป็นเครือข่ายการทำงานที่ใช้เป้าหมายร่วม
และไม่เน้นความสัมพันธ์ใกล้ชิดเชิงพื้นที่ในลักษณะชุมชน หรือหมู่บ้าน
ในพื้นที่เดียวกัน แต่เป็นการรวมตัวกันของผู้ที่มีความรู้ความสามารถ
ผู้มีจิตสาธารณะเห็นประโยชน์ส่วนร่วมเป็นที่ตั้ง จึงมีรูปแบบโครงสร้าง
ที่ยืดหยุ่น การมีตำแหน่งหรือการเรียกตำแหน่งมีความหมายของการทำ
หน้าที่ และเป็นการให้เกียรติในการทำหน้าที่ มากกว่าเป็นตำแหน่ง
ของโครงสร้างที่แข็งตัว ตัวอย่างที่พบ คือ ประธานสภาพลเมือง
(นางสาวจิรวรรณ สิทธิศักดิ์) คือผู้ที่ทำหน้าที่ทั้งการประสานงานสมาชิก
การดำเนินการประชุม การเชิญชวนพลเมืองที่สนใจในปัญหาบ้านเมือง
เข้าร่วม ในบางครั้งเป็นผู้จัดทำรายงานการประชุม เป็นต้น ซึ่งหน้าที่
ดังกล่าวมีการสับเปลี่ยนและปฏิบัติทดแทนกันได้โดยสมาชิกคนอื่น
ตามโอกาสและความสะดวกอีกด้วย นอกจากนี้ กำหนดการประชุม
เป็นวาระตามสะดวก ประสานงานแล้วมีเวลาที่จะเข้าร่วมประชุม และ
ในบางครั้งการประชุมสามารถทำผ่านระบบออนไลน์ได้อีกด้วย สำหรับ
การทำงานของคณะทำงานย่อยแต่ละโครงการก็มีความยืดหยุ่นใน
ลักษณะกระจายตัวทำงานตามที่ตั้งเป้าหมาย และนำผลการทำงานมา
“เล่าสู่กันฟัง” ในการประชุม เพื่อรายงาน กล่าวได้ว่าสภาพลเมือง
ไม่มีโครงสร้างอย่างเป็นทางการ ทำให้การทำงานเป็นไปตามธรรมชาติและ
สมัครใจ กระบวนการเรียนรู้ของการทำงานร่วมกันและการทำงาน
เพื่อแก้ไขปัญหาส่วนรวม และการเป็นพื้นที่ของทุกคนจึงทำให้มีผู้ต้อง
เข้าร่วมเป็นสมาชิก โดยเฉพาะพลเมืองในชุมชน ซึ่งแสดงให้เห็นถึง
สถาบันพระปกเกล้า
สถาบันพระปกเกล้า
10