Page 10 - 4 EDIT โรงเรียนสร้างคน พลเมืองสร้างชาติ The Series เล่ม 1 (2559).indd
P. 10

ค�ำน�ำ




                  ประเทศไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์
           ทรงเป็นประมุขมากว่า 80 ปี ซึ่งค�าว่าประชาธิปไตยมาจากค�าสองค�า คือ “ประชา+อธิปไตย”

           หมายถึงอ�านาจสูงสุดเป็นของประชาชน ดังนั้นประชาธิปไตยของไทย หัวใจส�าคัญจึงอยู่
           ที่ประชาชน  อันเป็นเจ้าของอ�านาจอธิปไตยที่แท้จริง  ด้วยเหตุนี้สถาบันพระปกเกล้า
           ในฐานะหน่วยงานที่มีบทบาทหน้าที่ในการส่งเสริมและให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ
           ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงให้ความส�าคัญในการ
           เสริมสร้างและพัฒนาความเป็นพลเมืองกับกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ ทั่วประเทศมาอย่าง
           ต่อเนื่อง
                  บ้านเมืองและประเทศชาติจะพัฒนาได้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับผู้น�าเพียงคนเดียว
           หากแต่ขึ้นกับพลังของพลเมืองในประเทศ  ด้วยเหตุนี้การพัฒนาและสร้างความเป็น
           พลเมืองจึงเริ่มตั้งแต่เด็กเยาวชนจนถึงผู้ใหญ่ ซึ่งนับว่าเป็นงานที่ยิ่งใหญ่และส�าคัญมาก
           โดยสถาบันพระปกเกล้าได้ด�าเนินการร่วมกับศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง
           สถาบันพระปกเกล้า ทั้ง 56 จังหวัดทั่วประเทศ ในการสร้าง ปลุก และปลูก จิตส�านึก

           ความเป็นพลเมืองให้กับประชาชนในพื้นที่ จนสามารถเกิดเป็นกระบวนการหนึ่งที่เรียกว่า
           “นโยบายสาธารณะ” และผลักดันนโยบายสาธารณะนั้นให้เกิดการแก้ไขปัญหาในพื้นที่
           ได้อย่างเป็นรูปธรรม  ท�าให้คุณภาพชีวิตเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในที่ดีขึ้นไม่ว่าจะเป็น
           มิติทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
                  หนังสือ  “โรงเรียนสร้างคน  พลเมืองสร้างชาติ”  เป็นการรวบรวมตัวอย่าง
           ความส�าเร็จหนึ่งของการด�าเนินโครงการโรงเรียนพลเมืองของศูนย์พัฒนาการเมือง
           ภาคพลเมือง  สถาบันพระปกเกล้า  จังหวัดร้อยเอ็ด  ที่น�ายุทธศาสตร์การพัฒนาและ
           สร้างความเป็นพลเมืองไปลงมือปฏิบัติ ผ่านการจัดตั้งโรงเรียนพลเมือง ให้เป็นแหล่ง
           การเรียนรู้ ความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น

           ประมุข  ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนตามอัธยาศัย  เปิดโอกาสให้ทุกคนได้เข้ามาเรียนรู้
           โดยไม่เสียงบประมาณส่วนตัว  ตลอดจนยังส่งเสริมให้เกิดทักษะ  กระบวนการคิด
           วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่และก�าหนดให้เป็นนโยบายสาธารณะที่เกิดมาจาก
           ความต้องการที่แท้จริงของชุมชน  อันเป็นการยกระดับการมีส่วนร่วมของประชาชน
           ซึ่งเป็นต้นแบบให้กับพื้นที่อื่น ๆ ได้ศึกษาและน�าไปประยุกต์ใช้ต่อไป
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15