Page 6 - 4 EDIT โรงเรียนสร้างคน พลเมืองสร้างชาติ The Series เล่ม 1 (2559).indd
P. 6
มุมมองดีๆ มีไว้ชวนคิด
จริงหรือไม่ที่…จิตส�านึกพลเมือง “สร้างได้”
การจะสร้างพลเมืองให้เกิดขึ้นในพื้นที่ได้นั้นต้องเริ่มที่ตนเอง ขยายต่อชุมชน
และสังคมเพื่อให้เกิดพลเมืองที่เข้มแข็งมีคุณภาพและเข้ามีส่วนร่วมในชุมชน เพราะมนุษย์
ไม่ได้เกิดมาพร้อมกับความเป็นพลเมือง แต่เราสามารถท�าให้เกิดความเป็นพลเมืองได้
โดยสร้างส�านึกพลเมืองผ่านบันได 5 ขั้น คือการปลุก การปรับ การขยับ การสลับ
และการท�าซ�้า ๆ เพื่อให้การเป็นพลเมืองได้หยั่งรากฝังลึกลงสู่จิตส�านึกของตนเองและ
ผู้อื่นในสังคมต่อไป
ค�าว่า “พลเมือง” มาจากค�า 2 ค�า คือค�าว่า “พละ + เมือง” อันหมายถึง
ผู้เป็นพลังหรือเป็นก�าลังให้แก่บ้านเมือง ซึ่งพลเมืองที่ดีนั้นต้องยึดมั่นในหลักคุณธรรม
ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายก�าหนด มีคุณธรรม มีจริยธรรม พลเมืองทุกคนล้วนมีสิทธิ
และหน้าที่ในฐานะประชาชนของประเทศที่อยู่ภายใต้ผู้ปกครองเดียวกันแต่การเป็น
พลเมืองที่ดีนั้นจะต้องตระหนักถึงสิทธิ หน้าที่ของตนเองและปฏิบัติตนให้เป็นประโยชน์
ต่อสังคม โดยมีการช่วยเหลือเกื้อกูลกันอันจะก่อให้เกิดการพัฒนาสังคมและประเทศ
ชาติเพื่อให้เป็นสังคมและเป็นประเทศประชาธิปไตยอย่างแท้จริงตามหลักการทาง
ประชาธิปไตย ปัจจุบันมีการพูดถึงความแตกต่างของ พลเมือง ประชาชน และราษฎร
มากมาย หากแต่ทุกคนที่เกิดมาล้วนเป็นพลเมือง เป็นประชาชน เป็นราษฎร ของประเทศ
ด้วยกันทั้งสิ้น หากแต่การจะเป็นพลเมืองที่ดีตามหลักของประชาธิปไตยอันมีพระมหา
กษัตริย์ทรงเป็นประมุขนั้น ต้องมีความตระหนักรู้ ต้องมีความกระตือรือร้น ที่จะแก้ไข
ปัญหาและพัฒนาพื้นที่/ชุมชน และประเทศชาติต่อไป
หนังสือ “โรงเรียนสร้างคน พลเมืองสร้างชาติ” เล่มนี้จึงเป็นอีกเครื่องมือหนึ่ง
ในการปลุก ปรับ ขยับ สลับ ซ�้า ๆ ในการสร้างจิตส�านึกความเป็นพลเมืองให้เกิดขึ้นในพื้นที่
ที่มีทั้งพลเมืองตระหนักรู้ และพลเมืองกระตือรือร้น ผ่านการด�าเนินโครงการโรงเรียน
พลเมืองของศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า จังหวัดร้อยเอ็ด
และยังเป็นอีกตัวอย่างของความส�าเร็จที่เด่นชัดของการสร้างความเป็นพลเมือง
ให้สามารถพัฒนาศักยภาพของตนเองและชุมชนจนเกิดเป็นความเข้มแข็งตามความ
ต้องการที่แท้จริงของชุมชนได้ ซึ่งชุมชนสามารถจัดการและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้โดย