Page 334 - 22221_Fulltext
P. 334
ภัยแล้งอย่างยั่งยืน โดยนวัตกรรมดังกล่าวยังเป็นการใช้ภูมิปัญญาที่ง่ายต้นทุนต่ำและ
สร้างสรรค์ต่อชุมชน ลดความเหลื่อมล้ำระหว่างชุมชมต้นน้ำและปลายน้ำ ขจัดปัญหาน้ำท่วม
ขังและป้องกันปัญหาการขาดน้ำในช่วงหน้าแล้งได้ครอบคลุมทุกชุมชน
ที่สำคัญน้ำจากระบบธนาคารน้ำใต้ดินนั้นทางองค์การบริหารส่วนตำบลเก่าขาม
ได้กำหนดให้มีการตรวจสอบคุณภาพของน้ำที่ชุมชนก่อนที่จะนำมาใช้อุปโภคบริโภค เพราะ
เห็นความสำคัญของสุขภาวะของประชาชนในระยะยาว จึงได้ตรวจสอบตามกระบวน
มาตรฐานการผลิตน้ำดื่ม ซึ่งมาตรฐานน้ำบริโภคประเทศไทย โดยสำนักสุขาภิบาลอาหารและ
น้ำ กรมอนามัย มีการกำหนดมาตรฐานของค่าความเป็นกรดด่างเอาไว้ คือ ต้องอยู่ใน
ระหว่างค่า 6.5 - 8.5 ซึ่งเป็นเกณฑ์ตามมาตรฐานองค์การอนามัยโลก (WHO) โดยน้ำจาก
ธนาคารน้ำใต้ดินในโครงการดังกล่าวเมื่อผลิตน้ำดื่มออกมาแล้วมีค่า pH อยู่ระหว่าง 8.2 -
8.5 ถือว่าผ่านเกณฑ์มาตรฐาน
ผลสัมฤทธิ์และความสำเร็จ คือ โครงการดังกล่าวสามารถลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม
ซึ่งตัวชี้วัดสำคัญเห็นได้จากประโยชน์ที่ประชาชนในพื้นที่ คือ ประชาชนได้รับประโยชน์
จำนวน 13 ชุมชน นั่นคือ ประชาชนจำนวน 7,411 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ชุมชนมีน้ำใช้
อุปโภคบริโภคที่สะอาด ปลอดภัย และทำการเกษตรอย่างเหมาะสมและเท่าเทียมครอบคลุม
ทุกชุมชน นอกจากนี้ ยังออกแบบให้มีการติดตามตรวจสอบสารเคมีตกค้างจากน้ำใต้ดินตั้งแต่
ริเริ่มโครงการจนถึงปัจจุบัน พบว่ามีสารเคมีตกค้างในน้ำน้อยลงจากผลการตรวจสารเคมี ดังนี้
ข้อมูลในปี พ.ศ. 2561 ผลเสี่ยงจำนวน 398 คน คิดเป็นร้อยละ 50.25 (จากผู้รับการตรวจ
792 คน) ปี พ.ศ.2562 ผลเสี่ยงจำนวน 342 คิดเป็นร้อยละ 47.77 ปี (จากผู้รับการตรวจ
716 คน) ปี พ.ศ. 2563 ผลเสี่ยง 371 คน คิดเป็นร้อยละ 32.72 (จากผู้รับการตรวจ
716 คน)
ความสำเร็จด้านการลดความเหลื่อมล้ำขององค์การบริหารส่วนตำบลเก่าขามเกิดขึ้น
ในหลายมิติ ได้แก่ มิติสังคม ก่อให้เกิดการบูรณาการมีส่วนร่วมของทุกชุมชน โดยชุมชน
ช่วยเหลือการทำงานร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาซ้ำซากในพื้นที่อย่างยั่งยืนเกิดความเข้าใจใน
ความปัญหาที่เกิดขึ้นและใช้วัตกรรมที่สามารถทำได้ต้นทุนต่ำ ป้องกันปัญหาความขัดแย้ง
ระหว่างชุมชน มิติเศรษฐกิจ เกิดความมั่นคงในการประกอบอาชีพ ผลิตผลทางการเกษตร
เพิ่มขึ้น เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น กระตุ้นเศรษฐกิจของชุมชนในระดับตำบล ทุกชนชน
มีน้ำใช้เพื่อการอุปโภคและบริโภคที่เพียงพอสำหรับการเกษตรและในชีวิตประจำวันและ
ที่สำคัญมีการเก็บสะสมน้ำไว้ใช้ในยามจำเป็น มิติสิ่งแวดล้อม เมื่อปริมาณน้ำใต้ดินและ
รางวัลพระปกเกล้า’ 64