Page 331 - 22221_Fulltext
P. 331
0
ข้อมูลท้องถิ่นและสร้างระบบการจัดการความรู้ (Knowledge Management) ที่ครบวงจร
ตั้งแต่แผนการจัดการความรู้ ขั้นตอนการบริหารงานมาใช้ในการพัฒนางานอย่างเป็นระบบ
ตามหลักวิชาการเพื่อให้บุคลากรสามารถเข้าถึงความรู้และพัฒนาตนเอง เตรียมความพร้อม
และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ที่สำคัญต้องนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้เกิดเป็นกระบวนการ
เปลี่ยนแปลง (Change Management Process) ในการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพ
ซึ่งช่วยให้องค์การบริหารส่วนตำบลเก่าขามกลายเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ทำงาน
เชิงรุกในทุกมิติของการทำงาน ทันสมัย สามารถปรับตัวต่อสถานการณ์ปัญหาในพื้นที่
ใช้องค์ความรู้ด้านดิจิทัลและพัฒนาทักษะเทคโนโลยีเพื่อขับเคลื่อนองค์กรให้สามารถ
แก้ไขปัญหาของชุมชน รวมทั้งสร้างการยอมความเป็นมืออาชีพการบริหารงานการเมืองและ
การบริหารงานท้องถิ่นจนเกิดพลังเป็นความไว้วางใจจากประชาชนและมีผลงานเชิงประจักษ์
สู่สาธารณะเป็นต้นแบบนวัตกรรมที่ยั่งยืนจนได้รับรางวัลจากหน่วยงานภาครัฐ
สำหรับโครงการหรือกิจกรรมที่สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นเลิศด้านลดความเหลื่อมล้ำ
ในสังคมขององค์การบริหารส่วนตำบลเก่าขาม คือ
โครงการนวัตกรรม ธนาคารน้ำใต้ดินแบบพอเพียง
(Sufficiency Groundwater bank)
จากทำเลที่ตั้งของตำบลเก่าขามที่อยู่นอกเขตชลประทาน ทำให้เกิดปัญหาสำคัญ
ที่ซ้ำซาก 2 เรื่อง ได้แก่ ปัญหาน้ำท่วมขังอย่างยาวนานและปัญหาภัยแล้งเป็นประจำทุกปีและ
ส่งกระทบโดยตรงต่ออาชีพทำการเกษตรของชุมชน หากเป็นกรณีภัยแล้งมีการขาดแคลนน้ำ
สำหรับอุปโภคบริโภคและทำการเกษตร ผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำไม่สามารถขายสินค้า
ทางการเกษตรได้เพราะน้ำท่วมขังหรือบางปีน้ำขาดแคลน เมื่อไม่มีน้ำใต้ดินช่วงภัยแล้ง
ก็มีปัญหาดินเค็ม ผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้ก็เสียราคาเมื่อเทียบกับจังหวัดอื่นๆ ในพื้นที่ใกล้เคียง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งตำบลเก่าขามถือว่าเป็นตำบลที่สามารถเพาะปลูกข้าวต่อรอบปีได้มากที่สุด
นั่นคือ สามารถทำนาได้ 5 ครั้งต่อปี ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตรายได้และเศรษฐกิจของชุมชน
เกิดเป็นปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม
ดังนั้น องค์การบริหารส่วนตำบลเก่าขามจึงริเริ่มใช้กระบวนการ 3C จากแนวคิดระบบ
ธนาคารน้ำใต้ดิน ซึ่งเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาที่มีหลัก 3S นั่นคือ 1) หลักปรัชญา
เศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency) หลักการบริหารจัดการน้ำตามศาสตร์พระราชาโครงการ
แก้มลิงกับศาสตร์การเก็บน้ำไว้ใต้ดิน (Groundwater recharge) ของพระเดชพระคุณ
พระนิเทศสาศนคุณ หลวงพ่อสมาน สิริปัญโญ 2) หลักความยั่งยืน (Sustainability) ที่เน้น
รางวัลพระปกเกล้า’ 64