Page 332 - 22221_Fulltext
P. 332
1
การแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน และ 3) หลักความเหมาะสม (Suitability) ที่สอดคล้องกับพื้นที่
และงบประมาณที่จำกัดซึ่งสามารถทำได้ครอบคลุมทั่วถึงและเท่าเทียม โดยองค์การบริหาร
ส่วนตำบลเก่าขามจุดประกายนำแนวคิดดังกล่าวมาใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 ภายใต้โครงการ
ธนาคารน้ำใต้ดิน มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้งและปัญหาน้ำท่วมขังในชุมชนและให้มี
กระบวนการการมีส่วนร่วมของชุมชน ด้วยการปรับปรุงคุณภาพน้ำโดยวิธีการทางธรรมชาติ
เพิ่มปริมาณน้ำสำรองตามแหล่งน้ำธรรมชาติทั่วไปให้มากขึ้น รวมทั้งพัฒนาระบบการบริหาร
จัดการน้ำให้สามารถเก็บปริมาณน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค และการเกษตรได้ตลอดทั้งปี ทั้งนี้
เพื่อตอบโจทย์สำคัญ นั่นคือ การลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม
หลังจากริเริ่มในช่วงระยะแรกซึ่งยังไม่ครอบคลุมทุกชุมชนเนื่องจากการขาด
งบประมาณในการดำเนินโครงการ และอยู่ระหว่างการเรียนรู้ ปรับปรุง แก้ไข เปลี่ยนแปลง
อย่างเป็นรูปธรรม อย่างไรก็ตาม เมื่อดำเนินการโครงการอย่างต่อเนื่อง ในปี พ.ศ. 2560
จึงได้จัดทำโครงการเพิ่มเติมเป็นธนาคารน้ำใต้ดินแบบพอเพียงเพื่อการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขัง
น้ำไหลหลาก รวมทั้งน้ำเน่าเสียในชุมชนเพิ่มเติมซึ่งเป็นโครงข่ายเชื่อมโยงบริหารจัดการน้ำ
ตั้งแต่ต้นทางคือ ครัวเรือน ชุมชน ถนน ภาคการเกษตร เป็นการรวบรวมน้ำต้นทางมิให้
น้ำไหลไปรวมกันกับพื้นที่อื่น โดยให้กำหนดให้ทิศทางการไหลของน้ำดีเดินทางตามธรรมชาติ
ไปเก็บไว้ที่ใต้ดินจนถึงปัจจุบันสามารถลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมได้อย่างชัดเจน และ
ขยายผลไปยังประชาชนและผู้นำชุมชนทั้ง 13 ชุมชน
รางวัลพระปกเกล้า’ 64