Page 333 - 22221_Fulltext
P. 333

2



                     วิธีดำเนินงานหรือขั้นตอนการดำเนินงานได้รับการมีส่วนร่วมจากทุกชุมชนเพราะ
               ทุกชุมชนเห็นความสำคัญของน้ำเนื่องจากชุมชนต้องการมีน้ำไว้ใช้เพื่ออุปโภคบริโภคและน้ำ
               เพื่อทำการเกษตร ดำเนินการ 9 ขั้นตอน ได้แก่

                     1.  เก็บข้อมูลพื้นฐานด้านทรัพยากรน้ำ ชุมชนและสภาพภูมิประเทศ ข้อมูล
               ความปนเปื้อน ความลาดเอียง ระดับความสูงต่ำ ทิศทางการไหลของน้ำผิวดิน ทำผังเส้นทาง

               เดินน้ำเพื่อประเมินหาขอบเขตการไหลและปริมาณของน้ำ เพื่อหาสาเหตุของปัญหาน้ำท่วม
               และแล้ง กำหนดขอบเขตที่ลุ่มที่ดอน พื้นที่แห้งแล้งซ้ำซาก ท่วมซ้ำซาก

                     2. เก็บข้อมูลน้ำบาดาลเดิมที่มีอยู่ในชุมชนทั้งปริมาณและคุณภาพก่อนดำเนินการ
               เก็บข้อมูลสภาพภูมิประเทศ ลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ เส้นชั้นความสูง (Contour)
               เพื่อประกอบการกำหนดพิกัดตำแหน่งในการวางระบบเติมน้ำใต้ดิน

                     3. เจาะสำรวจ ชั้นดิน เพื่อให้รู้ชั้นดิน สามารถออกแบบระบบเติมน้ำตามบริบทพื้นที่

                     4. วางแผนและกำหนดระบบเติมน้ำลงในผังน้ำตำบลประเมินผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

                     5. ออกแบบระบบธนาคารน้ำใต้ดินให้เกิดการเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบระหว่าง

               น้ำบนดินกับน้ำใต้ดิน อกแบบบ่อเติมน้ำลงชั้นใต้ดินตามบริบทของพื้นที่และปริมาณของน้ำ
                     6. ดำเนินงานก่อสร้างตามแผนที่กำหนดไว้ สร้างทางเดินเชื่อมเครือข่ายน้ำใต้ดิน

                     7. ติดตาม ประเมินผลและเก็บข้อมูลปริมาณและคุณภาพน้ำเพื่อให้เห็นสภาพ

               ที่เปลี่ยนไปก่อนและหลังนำใช้นวัตกรรม

                     8. สรุปวิเคราะห์เพื่อแก้ไขและขยายผลเชื่อมกับโครงการอื่นที่เกี่ยวกับน้ำ

                     9. บำรุงรักษาและป้องกันระบบธนาคารน้ำใต้ดินแบบพอเพียงเน้นการเติมน้ำฝนจาก
               หลังคา บ้านเรือนจึงง่ายต่อการบำรุงรักษาและการปนเปื้อน

                     หลักสำคัญในโครงการธนาคารน้ำใต้ดินแบบพอเพียงเป็นกระบวนการเร่งน้ำให้ลงสู่
               ชั้นใต้ดินให้เร็วขึ้นด้วยการนำน้ำบนดินไปแทนที่อากาศ กระบวนการเก็บน้ำลงใต้ดินชั้นตื้น
               ด้วยบ่อประดิษฐ์เพื่อบรรเทาปัญหาน้ำท่วมขัง และรักษาความชื้นให้กับชั้นหน้าดิน การเก็บกัก

               น้ำดังกล่าวยังช่วยแก้ไขปัญหาให้ชุมชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาน้ำท่วมขัง จัดการ
               น้ำฝนที่ตกจำนวนมากตามแหล่งน้ำให้ไหลลงสู่บ่อประดิษฐ์ระดับชุมชนได้อย่างรวดเร็ว ทำให้
               ไม่มีน้ำท่วมขังในชุมชน สามารถลดการปนเปื้อนจากการไหลบ่าของน้ำฝนแบบทิ้งเปล่า
               ในพื้นที่อื่นๆ ในช่วงเวลาฝนตก และยังช่วยรักษาความชื้นชั้นหน้าดิน อันส่งผลดีต่อ
               การประหยัดน้ำในการเพาะปลูก เกิดการพัฒนาองค์ความรู้การแก้ไขปัญหา น้ำท่วมขัง




             รางวัลพระปกเกล้า’ 64
   328   329   330   331   332   333   334   335   336   337   338