Page 153 - 22221_Fulltext
P. 153
1 2
การพัฒนาแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นดำเนินการในลักษณะ
เครือข่าย โดยเครือข่าย ประกอบด้วย สภาวัฒนธรรมตำบล ปราชญ์ชาวบ้าน กลุ่มต่างๆ
และสถานศึกษาเข้ามาร่วมให้การสนับสนุนสถานที่เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ ร่วมเป็น
วิทยากรในการถ่ายทอดความรู้ให้แก่เด็กและเยาวชน และช่วยประชาสัมพันธ์แหล่งเรียนรู้
ผ่านช่องทางต่าง ๆ ของตน ทั้งนี้ เด็กและเยาวชนสามารถเรียนรู้วัฒนธรรมและภูมิปัญญา
ท้องถิ่นผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ใน 7 ฐาน ประกอบด้วย
๏ ฐานที่ 1 ศึกษาประวัติศาสตร์ความเป็นมาของศาลกะทู้ เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับ
ประวัติความเป็นมาของศาลเจ้ากะทู้ โดยวิทยากร คือ ประธานสภาวัฒนธรรมตำบลกะทู้
ได้บอกเล่าอธิบายพร้อมสาธิตวิธีการไหว้พระของศาลเจ้ากะทู้ ฐานการเรียนรู้นี้เป็นการเรียนรู้
ร่วมกันประมาณ 100 คนต่อครั้งโดยใช้ระยะเวลาในการเรียนรู้ 30 นาที ก่อนมีการแบ่งกลุ่ม
กลุ่มละ 15 คนเพื่อเวียนไปยังฐานอื่นๆ
๏ ฐานที่ 2 เรียนรู้การทำเหมืองแร่/การร่อนแร่ เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการทำเหมือง
แร่และการร่อนแร่ ซึ่งเป็นอาชีพหลักของบรรพบุรุษชาวกะทู้ โดยใช้วิธีการบอกเล่าอธิบาย
พร้อมสาธิตการร่อนแร่ในเหมืองแร่สาธิต ซึ่งเด็กและเยาวชนได้ฝึกร่อนแร่ในฐานนี้ด้วย
โดยใช้ระยะเวลาในการเรียนรู้ 30 นาที
๏ ฐานที่ 3 ศึกษาเรียนรู้ประวัติบ่อน้ำวันชาติ เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์
ตามความเชื่อของบรรพบุรุษชาวกะทู้ ซึ่งสมัยก่อนได้ใช้น้ำจากบ่อน้ำวันชาตินี้เพื่อทำพิธี
ดื่มน้ำสาบาน การเรียนรู้จากฐานนี้ใช้วิธีการบอกเล่าอธิบาย โดยใช้ระยะเวลาในการเรียนรู้
30 นาที
๏ ฐานที่ 4 เรียนรู้การไหว้ถี่ก๊ง (ไหว้เทวดา) ลักษณะบ้านในอดีต ป้ายภาษาจีน
หน้าบ้าน เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการไหว้เทวดา ลักษณะบ้านในอดีต ความหมายของป้าย
ภาษาจีนหน้าบ้านของคนส่วนใหญ่ซึ่งเป็นคนเชื้อสายจีน การเรียนรู้จากฐานนี้ใช้วิธีการ
บอกเล่าอธิบาย โดยใช้ระยะเวลาในการเรียนรู้ 20 นาที
๏ ฐานที่ 5 เรียนรู้การทำไม้กวาดดอกอ้อ เป็นการเรียนรู้วิธีการทำไม้กวาดดอกอ้อ
แบบดั้งเดิมตามภูมิปัญญาพื้นบ้าน การเรียนรู้ในฐานนี้ใช้วิธีการบอกเล่าอธิบายพร้อมสาธิต
วิธีการทำ ซึ่งเด็กและเยาวชนได้ฝึกทำไม้กวาดดอกอ้อในฐานนี้ด้วย โดยใช้ระยะเวลา
ในการเรียนรู้ 20 นาที
รางวัลพระปกเกล้า’ 64