Page 158 - 22221_Fulltext
P. 158
1
(histen) เพื่อให้เข้าใจปัญหาความต้องการ เป้าหมายและประเด็นที่ต้องการแก้ไข ผ่าน
ช่องทางต่างๆ ดังนี้ Facebook Line twitter website เป็นต้น
2. กำหนดปัญหาหรืออุปสรรค (Define)
หลังจากที่ทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายด้วยกระบวนการตามข้อ 1 แล้ว จากนั้น
เทศบาลตำบลท่าคันโทได้จัดให้มีการประชาคม (เทศบาล เจ้าหน้าที่ ส่วนราชการ
เครือข่าย ประชาชน) ด้วยวิธี SPS โมเดล เพื่อระบุและจัดลำดับความสำคัญของปัญหา
ที่ต้องการแก้ไขให้ชัดเจนและเป็นปัญหาความต้องการของชุมชนที่แท้จริง
3. ระดมความคิด (Ideate)
เทศบาล เจ้าหน้าที่ ส่วนราชการ เอกชน ประชาคม ระดมความคิดเห็น (Brains
Training) ร่วมกันคิดเพื่อให้ได้ไอเดียมากที่สุดซึ่งต้องใช้การคิดนอกกรอบ (Creative
Thinking) การคิดวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis Thinking) จากนั้นค่อยร่วมกันคัดให้เหลือไอเดีย
ที่ดีที่สุดและสามารถนำมาทำเป็นต้นแบบได้จริง
4. การสร้างต้นแบบ (Prototype)
เทศบาลตำบลท่าคันโท นำเอาไอเดียที่ได้ร่วมกันคัดเลือกไว้แล้วมาสร้างต้นแบบ
นวัตกรรมที่ใช้แก้ไขปัญหาโดยมีขั้นตอนคือ
1) สร้างต้นแบบที่ง่ายๆ ก่อน เพื่อทดสอบแนวคิดเมื่อทดสอบกับผู้ใช้แล้ว
2) มีการนำเทคโนโลยี ผู้เชี่ยวชาญ ทรัพยากรที่มีในองค์กรและบางเรื่องจะเปิดรับ
เทคโนโลยี ความรู้ ข้อมูลจากหน่วยงานภายนอกในลักษณะ (Open Innovation) เพื่อให้
สามารถที่จะนำมาสร้างต้นแบบให้ออกมามีประสิทธิภาพได้ดียิ่งขึ้น
5. การทดสอบ (Test)
เทศบาลร่วมกับเครือข่ายภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม ร่วมกันลงมือทำโดยใช้
วงจรเดมมิ่ง (PDCA) นำต้นแบบเพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหากับกลุ่มเป้าหมาย (Test)
แล้วเก็บข้อมูลที่ได้มาเรียนรู้และประมวลผลเพื่อปรับปรุง (Improve) ต่อไป
สำหรับโครงการหรือกิจกรรมที่สะท้อนความเป็นเลิศในด้านการเสริมสร้างเครือข่าย
รัฐ เอกชน และประชาสังคมของเทศบาลตำบลท่าคันโท ได้แก่
รางวัลพระปกเกล้า’ 64