Page 159 - 22221_Fulltext
P. 159
1
โครงการพัฒนารูปแบบประปาท้องถิ่นคุณภาพ WSP
โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์
๏ เครือข่ายนวัตกรรม โครงการพัฒนารูปแบบประปาท้องถิ่นคุณภาพ WSP โดย
ใช้หลักฐานเชิงประจักษ์
๏ เครือข่ายกลุ่มเฝ้าระวังคุณภาพน้ำ เทศบาลตำบลท่าคันโท
เนื่องจากในอดีตที่ผ่านมา พื้นที่เทศบาลตำบลท่าคันโท เคยประสบปัญหาภัยแล้ง
ขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค และน้ำในการทำเกษตรในช่วงฤดูแล้ง ในช่วงฤดูฝนบางปีก็
ประสบปัญหาน้ำท่วม น้ำป่าไหลหลากในชุมชนพื้นที่ราบลุ่มใกล้ลำห้วย อีกทั้งประชากรส่วนใหญ่
ประกอบอาชีพการเกษตรต้องใช้น้ำทำการเกษตรตลอดทั้งปี โรงงานอุตสาหกรรมสูบน้ำจาก
แหล่งน้ำธรรมชาติเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมทุกวัน วันละ 7,000 ลูกบาศก์เมตร หรือ
2,555,000 ลูกบาศก์เมตรต่อปี และประชาชนจำนวนทั้งสิ้น 9,000 กว่าคนในเขตเทศบาล
ต้องใช้น้ำอุปโภคบริโภคและการพาณิชย์ วันละ 2,000 ลูกบาศก์เมตร 730,000 ลูกบาศก์
เมตรต่อปี แต่เดิมอ่างเก็บน้ำมีพื้นที่ 600 ไร่ เก็บน้ำได้เพียง 2,440,000 ลูกบาศก์เมตร
จึงไม่เพียงพอ
เทศบาลตำบลท่าคันโทจึงได้จัดทำประชาคมเพื่อรับฟังปัญหา และข้อเสนอแนะ
ของประชาชนในพื้นที่ ซึ่งปัญหาเรื่องน้ำถือเป็นปัญหาที่สำคัญอันดับแรก ซึ่งมีประเด็นปัญหา
ที่ต้องแก้ไขดังนี้
1. น้ำไม่เพียงพอต่อการอุปโภค บริโภค การเกษตร และการอุตสาหกรรม
2. น้ำประปาไม่สะอาดไม่ได้มาตรฐาน
เทศบาลตำบลท่าคันโท จึงเป็นองค์กรที่ริเริ่มในการรับฟังปัญหาและแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำ
โดยมีกระบวนการ มีเครื่องมือ และมีภาคีเครือข่ายในการขับเคลื่อนนวัตกรรม เพื่อแก้ไข
ปัญหาเรื่องน้ำขาดแคลนและน้ำไม่สะอาด
รางวัลพระปกเกล้า’ 64