Page 150 - 22221_Fulltext
P. 150
1
การดำเนินงานของโรงครัวได้มีภาคีเครือข่ายเข้ามาร่วมหลายกลุ่ม/องค์กร/หน่วยงาน
กล่าวคือ กลุ่มจิตอาสา คณะกรรมการชุมชน และประชาชนที่สามารถปรุงอาหารได้เข้ามา
ร่วมเป็นพ่อครัว-แม่ครัวในการทำอาหารแจกจ่าย, กลุ่มเกษตรจัดส่งผักปลอดสารพิษและ
เนื้อสัตว์มาให้แก่โรงครัวในราคาต้นทุน, หน่วยงานภาคเอกชน บริษัท และร้านค้า
ให้การสนับสนุนวัตถุดิบในการประกอบอาหาร และเทศบาลเมืองกะทู้ได้ทำการซ่อมแซมและ
ปรับปรุงอาคาร ระบบน้ำประปา ไฟฟ้า ให้มีความพร้อมรองรับการทำงาน รวมถึงได้ควบคุม
ให้การดำเนินการของโรงครัวเป็นไปตามหลักสุขาภิบาลและมาตรฐานของกรมอนามัย
โรงครัวเทศบาลเมืองกะทู้ได้แจกจ่ายอาหารพร้อมรับประทานให้แก่ประชาชนระหว่าง
เดือนเมษายน – มิถุนายน 2563 เป็นจำนวน 24,845 กล่อง โดยอาหารที่แจกจ่าย
มีหลายเมนู อาทิ คั่วกลิ้งไก่ ผัดแตงกวาใส่ไข่ แกงส้มปลา/กุ้ง ไข่เจียว ผัดเผ็ดไก่ใส่ถั่วฝักยาว
และผัดฟักทองใส่ไข่ เป็นต้น ส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบและความเดือนร้อน
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้รับอาหารเพียงพอตามความต้องการ และ
ได้รับประทานอาหารที่ถูกสุขอนามัย
เทศบาลเมืองกะทู้วางแผนต่อยอดโรงครัวแห่งนี้ใน 3 ลักษณะ ได้แก่
1) เป็นศูนย์กลางการจัดทำอาหารเช้า อาหารกลางวัน และอาหารว่างให้แก่นักเรียน
ในสถานศึกษาในสังกัดของเทศบาลเมืองกะทู้ทั้ง 4 แห่งในช่วงเปิดภาคเรียน ซึ่งนักเรียน
จะได้รับอาหารที่มีคุณภาพโดยผ่านกระบวนการประกอบอาหารตามหลักสุขอนามัย
2) เป็นสถานที่ฝึกประสบการณ์ทางด้านอาชีพให้แก่นักเรียน เยาวชน และประชาชน
ในการจัดทำอาหารคาว ของหวาน ขนมปัง และอาหารพื้นเมืองที่ขึ้นชื่อของท้องถิ่นจำหน่าย
เพื่อเสริมสร้างรายได้ระหว่างเรียน
3) เป็นโรงครัวสำหรับจัดอาหารและอาหารว่างรองรับการประชุม การสัมมนา และ
งานเลี้ยงต่าง ๆ ในพื้นที่
การบริหารจัดการขยะต้นทาง
ขยะมูลฝอยในเขตเทศบาลเมืองกะทู้มีปริมาณเฉลี่ย 70-80 ตันต่อวัน ส่วนใหญ่เป็น
ขยะมูลฝอยที่เกิดจากครัวเรือน สถานประกอบการ และการลักลอบนำขยะมาทิ้งในเขตพื้นที่
เทศบาลเมืองกะทู้จึงระดมวิธีการลดปริมาณขยะร่วมกับประชาชน หน่วยงานภาครัฐและ
ภาคเอกชนในพื้นที่ และได้ข้อสรุปร่วมกันในการบริหารจัดการขยะตั้งแต่ต้นทาง หรือ
รางวัลพระปกเกล้า’ 64