Page 135 - 22221_Fulltext
P. 135

1



               เครือข่ายการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล


                     “ทะเลสาบสงขลา” ทะเลสาบขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศ มีพื้นที่มากกว่า 650,000 ไร่
               และมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสงขลา จังหวัดพัทลุง และจังหวัด
               นครศรีธรรมราช เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำหลายชนิดทั้งสัตว์น้ำจืด สัตว์น้ำกร่อย และ

               สัตว์ทะเล จึงกลายเป็นแหล่งอาหารของประชาชนที่อาศัยอยู่โดยรอบทะเลสาบมากกว่า
               268 หมู่บ้าน และเป็นแหล่งสร้างอาชีพรวมถึงรายได้ให้แก่ชาวประมงมากกว่า 20,000 ราย
               ที่ผ่านมาทะเลสาบสงขลาได้เผชิญกับวิกฤตระบบนิเวศน์ทางทะเลถูกทำลาย โดยมีสาเหตุ
               หลายประการ ได้แก่ 1) การใช้เครื่องมือประมงที่ผิดกฎหมาย เช่น อวนลาก อวนรุน และ
               โพงพาง เป็นต้น ซึ่งได้ทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ และทำลายการเจริญเติบโตของ

               สัตว์น้ำวัยอ่อน ส่งผลให้ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรทางทะเลลดลง สัตว์น้ำบางชนิด
               สูญพันธุ์หรือใกล้จะสูญพันธุ์ 2) การใช้เครื่องมือประมงที่ทันสมัย ส่งผลให้สามารถจับสัตว์น้ำ
               ได้เป็นจำนวนมากและรวดเร็วจนเกินความสมดุล 3) การมีเรือประมงจำนวนมาก

               4) การบุกรุกทำลายป่าชายเลนซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและอนุบาลสัตว์น้ำ 5) มลพิษจาก
               เมือง ชุมชน และนากุ้งที่ปล่อยน้ำเสียและขี้เลนลงสู่ชายฝั่ง ทำให้คุณภาพน้ำทะเลชายฝั่ง
               เสื่อมโทรมลง

                     ด้วยสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาจึงเร่งแก้ปัญหา

               ด้วยการเสริมสร้างเครือข่ายในการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลโดยภาคีเครือข่ายส่วนใหญ่คือ
               กลุ่มประมงทั่วทั้งจังหวัดสงขลา มากกว่า 70 กลุ่ม และมีหน่วยงานราชการและภาคเอกชน
               ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายด้วย ได้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัด
               สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งจังหวัดสงขลา สำนักงานประมงจังหวัดสงขลา
               มหาวิทยาลัยทักษิณ และบริษัท ปตท.สผ. จำกัด ทั้งนี้เครือข่ายในการอนุรักษ์ทรัพยากรทาง

               ทะเลมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน 2 ประการ คือ 1) การอนุรักษ์ การฟื้นฟู และการใช้
               ประโยชน์จากทรัพยากรสัตว์น้ำอย่างเหมาะสม และ 2) การพัฒนาแหล่งน้ำอย่างยั่งยืน
               โดยสร้างความสมดุลของระบบนิเวศน์เพื่อเป็นแหล่งเพาะพันธุ์และแหล่งที่อยู่อาศัยของ

               สัตว์ทะเล ซึ่งจะก่อให้เกิดความมั่นคงทางอาหาร การสร้างอาชีพและรายได้ให้แก่ชาวประมง
               ต่อไป

                     เครือข่ายในการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลได้ร่วมกันกำหนดหลักเกณฑ์และกติกา
               ในการใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสมและคุ้มค่า โดยมีการกำหนดเขตห้ามทำการประมงในพื้นที่

               ระยะ 3,000 เมตรจากชายฝั่ง การจัดทำบ้านปลาหรือฟาร์มทะเลซึ่งเป็นการนำภูมิปัญญา




             รางวัลพระปกเกล้า’ 64
   130   131   132   133   134   135   136   137   138   139   140