Page 131 - 22221_Fulltext
P. 131

1 0



                     ดังนั้น เพื่อให้การพัฒนาจังหวัดสงขลาบรรลุเป้าหมายดังกล่าวข้างต้น องค์การบริหาร
               ส่วนจังหวัดสงขลาจึงประสานและเสริมสร้างให้หน่วยงาน องค์กร กลุ่ม และภาคส่วนต่างๆ
               ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาสังคมในพื้นที่ได้เข้ามาเป็นเครือข่ายในการพัฒนาจังหวัด

               โดยเป็นกำลังสำคัญในการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมติดตามตรวจสอบประเมินผล และ
               ร่วมปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล การทำงานในลักษณะ
               เครือข่ายเช่นนี้ทำให้เกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของ การยอมรับ ความเชื่อมั่น และความพึงพอใจ
               ตลอดจนความร่วมมือในการเดินหน้าพัฒนาจังหวัดสงขลาอย่างยั่งยืน


                     สำหรับโครงการหรือกิจกรรมที่สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นเลิศด้านการเสริมสร้าง
               เครือข่ายรัฐ เอกชน และประชาสังคมขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ได้แก่

               นวัตกรรมเครือข่ายสร้างสุขชุมชน


                     จังหวัดสงขลามีประชากรทั้งสิ้น 1,432,628 คน โดยมีประชากรที่มีภาวะพึ่งพิง
               รวม 242,595 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 16.93 ของประชากรทั้งหมด แบ่งเป็นผู้สูงอายุ
               จำนวน 186,556 คน ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านติดเตียง จำนวน 6,285 คน ผู้พิการ จำนวน

               32,669 คน และผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง จำนวน 17,085 คน แม้มีระบบประกันสุขภาพ แต่ที่ผ่านมา
               ในทางปฏิบัติประชากรกลุ่มนี้มากกว่าร้อยละ 80 โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบท ไม่สามารถเข้าถึง
               บริการและการใช้ประโยชน์จากสิทธิในด้านการซ่อมบำรุงและการยืม-คืนกายอุปกรณ์ได้จริง
               ทั้งนี้มีสาเหตุสำคัญหลายประการ ได้แก่ ข้อจำกัดด้านงบประมาณของหน่วยงานรัฐ
               ที่รับผิดชอบ การจัดบริการที่ไม่ทั่วถึง ไม่ครอบคลุม ไม่เพียงพอกับความต้องการ และ

               ไม่สอดคล้องกับจำนวนของกลุ่มเป้าหมายที่เพิ่มสูงขึ้น ระบบการทำงานแบบแยกส่วนของ
               หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บุคลากรด้านสาธารณสุขไม่เพียงพอ การเสื่อมสภาพตามอายุการใช้งาน
               ของกายอุปกรณ์ การไม่มีศูนย์บริการในการซ่อมบำรุงกายอุปกรณ์ในจังหวัดสงขลาและ

               ในพื้นที่ 14 จังหวัดทางภาคใต้ ข้อมูลเกี่ยวกับผู้รับบริการไม่ครบถ้วน ไม่เป็นระบบ และ
               ไม่เป็นปัจจุบัน และไม่มีศูนย์กลางในการประสานงานและการบริหารจัดการ เมื่อผู้ที่มีภาวะ
               พึ่งพิงเข้าไม่ถึงการยืม-คืนและการซ่อมบำรุงกายอุปกรณ์ ส่งผลให้ไม่ได้รับการดูแลอย่าง
               เหมาะสมในชีวิตประจำวัน มีภาวการณ์พึ่งพิงที่รุนแรงมากขึ้น และมีภาวะแทรกซ้อนตามมา
               จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาพยาบาลเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับเมื่อไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวัน

               ได้สะดวก ย่อมส่งผลต่อสภาพจิตใจของผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงทำให้มีอาการซึมเศร้า ด้วยเหตุนี้
               ครอบครัวของผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงจึงได้รับผลกระทบตามไปด้วยทั้งในส่วนค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นและ
               การดูแลที่ใกล้ชิดมากขึ้น





             รางวัลพระปกเกล้า’ 64
   126   127   128   129   130   131   132   133   134   135   136