Page 133 - 22221_Fulltext
P. 133
1 2
ในพื้นที่และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ใช้บันทึกและส่งต่อข้อมูลความต้องการการซ่อม
บำรุงและการยืม-คืนกายอุปกรณ์ ศูนย์ฯ ได้จัดอบรมช่างซ่อมกายอุปกรณ์พร้อมสนับสนุน
ชุดเครื่องมือซ่อมกายอุปกรณ์ขั้นพื้นฐานให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่งและ
โรงพยาบาลในแต่ละอำเภอ เพื่อให้ผู้ที่ผ่านการอบรมสามารถให้บริการซ่อมบำรุงขั้นพื้นฐาน
ในพื้นที่ได้ ในปี พ.ศ. 2564 ศูนย์ฯ ได้ยกระดับการทำงานด้วยการผลิตกายอุปกรณ์
ด้วยตนเอง เช่น เบาะนอนผู้ป่วย และที่นอนลมจากถุงน้ำยาล้างไต และได้ทดลองพัฒนา
นวัตกรรมกายอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการ เช่น รถสามล้อไฟฟ้าแบบกึ่งอัตโนมัติสำหรับ
ผู้พิการช่วงล่าง รวมถึงพัฒนาระบบการขนส่งกายอุปกรณ์ภายในจังหวัดสงขลา
๏ ศูนย์สร้างสุขชุมชนหรือศูนย์บริการฟื้นฟูสมรรถภาพ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562
เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาร่วมกับภาคีเครือข่ายได้จัดตั้ง
ศูนย์สร้างสุขชุมชนมากกว่า 10 แห่ง โดยให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นหรือ
กายภาพบำบัดแก่ผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่อยู่ในระยะกึ่งเฉียบพลัน และผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง
ทั้งนี้ผู้ทำหน้าที่ให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพ ได้แก่ นักกายภาพบำบัด อาสาสมัครสาธารณสุข
ประจำหมู่บ้านผู้เชี่ยวชาญ (อสมช.) อาสาสมัครอื่นๆ และจิตอาสาที่ผ่านการอบรมตาม
หลักสูตรอบรมมาตรฐานอาสาสมัครศูนย์สร้างสุขชุมชน โดยหลักสูตรนี้ได้พัฒนาขึ้นมา
ในปี พ.ศ. 2563 เป็นหลักสูตรแรกของประเทศ และจัดอบรมให้แก่ศูนย์สร้างสุขชุมชน
ทุกแห่งๆ ละ 40 คน เพื่อให้บริการในพื้นที่ได้อย่างเพียงพอ ครอบคลุมและทั่วถึง การรับ
บริการใช้ระยะเวลาตั้งแต่ 45 นาทีขึ้นไป ตามอาการและมีอัตราค่าบริการไม่เกิน 50 บาท
การบริหารจัดการศูนย์มีการแต่งตั้งคณะกรรมการศูนย์ฯ ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากภาคี
เครือข่ายต่างๆ และมีการจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบเพื่อให้การบริการรวดเร็ว ถูกต้อง และ
แม่นยำ โดยได้บันทึกข้อมูลและรายละเอียดเกี่ยวกับการให้บริการในโปรแกรม one stop
service for all 4.0 เช่นเดียวกับศูนย์ซ่อมสร้างสุข
๏ บ้านสร้างสุขชุมชน เป็นโครงการที่ช่วยปรับสภาพที่อยู่อาศัยให้ผู้พิการ ผู้สูงอายุ
และผู้ที่อยู่ในระยะที่ต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพ กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดสงขลา
ได้เริ่มดำเนินโครงการนี้ในปีพ.ศ. 2562 และได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายทั้งในด้าน
งบประมาณ การออกแบบ แรงงาน และวัสดุอุปกรณ์ ทั้งนี้หน่วยงานในพื้นที่สามารถ
ดำเนินการเชิงรุกด้วยการค้นหากลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ หรือกลุ่มเป้าหมายขอรับ
ความช่วยเหลือด้วยตนเองผ่าน 2 ช่องทาง ได้แก่ เว็บไซต์กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัด
สงขลา และแอปพลิเคชัน Imed@home และเมื่อคณะทำงานปรับสภาพแวดล้อมและ
ที่อยู่อาศัยได้พิจารณาเรียบร้อยแล้ว จะมีการสนับสนุนงบประมาณเพื่อจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์
รางวัลพระปกเกล้า’ 64