Page 132 - 22221_Fulltext
P. 132
1 1
องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาแสวงหาเครือข่ายความร่วมมือในการแก้ไขปัญหา
ดังกล่าวข้างต้นเพราะตระหนักดีว่าไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้เพียงลำพัง จึงประสาน
ภาคีเครือข่ายมากถึง 194 ภาคีเครือข่าย ทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานราชการ
บริษัท สมาคม ชมรม และมูลนิธิต่างๆ และร่วมกันขับเคลื่อน 4 โครงการ/กิจกรรมหลัก
ดังนี้
๏ การจัดตั้งกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดสงขลา ในปี พ.ศ. 2558 องค์การ
บริหารส่วนจังหวัดสงขลาได้ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ สปสช. เพื่อร่วมกันสนับสนุน
และส่งเสริมการดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพ
ระดับจังหวัด กองทุนนี้จะช่วยเหลือผู้พิการ ผู้สูงอายุ และผู้ที่อยู่ในระยะที่จำเป็นต้องได้รับ
การฟื้นฟูสมรรถภาพในเขตพื้นที่จังหวัดให้ได้รับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์
ที่จำเป็นต่อสุขภาพจากหน่วยบริการ สถานบริการ หรือองค์กรอื่นๆ รวมทั้งได้รับเครื่องช่วย
กายอุปกรณ์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับบริการทางการแพทย์ในกรณีที่มีผลการตรวจวินิจฉัยหรือ
มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ ทั้งนี้ คณะกรรมการและคณะทำงานกองทุนประกอบด้วยผู้แทนจาก
ภาคีเครือข่ายต่างๆ โดยมีโครงสร้างของคณะกรรมการและคณะทำงานที่ให้ความช่วยเหลือ
ในหลายด้าน ได้แก่ ด้านการแพทย์ ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต ด้านระบบบริการหน่วย/
ชุมชน และด้านจัดบริการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์
๏ ศูนย์ซ่อมสร้างสุขชุมชน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 เป็นต้นมา องค์การบริหาร
ส่วนจังหวัดสงขลาร่วมกับภาคีเครือข่ายได้จัดตั้งศูนย์ซ่อมสร้างสุขชุมชนขึ้นมาหลายแห่ง
เพื่อเป็นศูนย์ซ่อมบำรุง ศูนย์ยืม-คืน และศูนย์รับบริจาคกายอุปกรณ์ โดยให้บริการ
กายอุปกรณ์หลายชนิดแก่ผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่อยู่ในระยะกึ่งเฉียบพลัน และผู้ที่มีภาวะ
พึ่งพิง ได้แก่ ไม่ค้ำยันรักแร้แบบอลูมิเนียมและไม้ ไม้เท้าอลูมิเนียมแบบสามขา ไม้เท้าพับได้
สำหรับคนตาบอด รถนั่งคนพิการชนิดพับได้ เบาะรองนั่งสำหรับคนพิการ รถสามล้อโยก
สำหรับคนพิการ แผ่นรองตัวสำหรับผู้ป่วยอัมพาตหรือที่นอนลม และเตียงนอนผู้ป่วย ศูนย์ฯ
เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น. ทุกวันจันทร์-วันเสาร์ การรับบริการไม่มีค่าใช้จ่าย
และไม่มีข้อจำกัดด้านสิทธิการรักษาและเขตพื้นที่รับผิดชอบ นอกจากนี้ เพื่อเพิ่มความรวดเร็ว
ถูกต้อง แม่นยำ และให้บริการอย่างเป็นระบบ กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดสงขลา
ได้พัฒนาและออกแบบโปรแกรม one stop service for all 4.0 เพื่อให้ศูนย์ซ่อมสร้างสุข
ชุมชนใช้บันทึกข้อมูลและรายละเอียดเกี่ยวกับการแจ้งซ่อม การยืม-คืน และคลังอุปกรณ์
ตลอดจนได้เชื่อมโยงข้อมูลความต้องการซ่อมบำรุงและการยืม-คืนอุปกรณ์กับโปรแกรม
เยี่ยมบ้าน Imed@home ของมูลนิธิชุมชนสงขลา ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันที่แกนนำสุขภาพ
รางวัลพระปกเกล้า’ 64