Page 176 - kpi21365
P. 176
จากตารางที่ 4.2 และภาพประกอบที่ 4.1 พบว่า การขับเคลื่อนตามยุทธศาสตร์ชาติที่ 6 ด้าน
การปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการสู่การปฏิบัติขององค์กรภาครัฐในประเทศไทย
โดยรวมมีระดับการขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติอยู่ในระดับสูง (คิดเป็นร้อยละ 78.56) โดยเมื่อพิจารณาเป็น
รายองค์ประกอบ พบว่า การขับเคลื่อนตามยุทธศาสตร์ชาติที่ 6 ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบ
การบริหารจัดการสู่การปฏิบัติขององค์กรภาครัฐในประเทศไทย มีระดับการขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติอยู่ใน
ระดับสูงที่สุด จ านวน 3 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบการยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง (คิดเป็นร้อย
ละ 82.90) องค์ประกอบการบริหารงานแบบบูรณาการ (คิดเป็นร้อยละ 81.33) องค์ประกอบความ
ทันสมัยในการปฏิบัติงาน (คิดเป็นร้อยละ 80.10) และมีระดับการขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติอยู่ในระดับสูง
จ านวน 5 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบความโปร่งใสปลอดการทุจริตและประพฤติมิชอบ (ด้านการ
ป้องกันและด้านการปราบปราม) (คิดเป็นร้อยละ 79.82) องค์ประกอบกฎหมายกับบริบทที่เปลี่ยนแปลง
(คิดเป็นร้อยละ 79.19) องค์ประกอบบุคลากรภาครัฐ (คิดเป็นร้อยละ 79.03) องค์ประกอบสิทธิ
มนุษยชนและความเสมอภาคในกระบวนการยุติธรรม (คิดเป็นร้อยละ 75.55) และองค์ประกอบขนาด
ขององค์กรและการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน (คิดเป็นร้อยละ 69.31)
ทั้งนี้ จากผลการวิจัยดังกล่าวซึ่งพบว่า องค์ประกอบการยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางมีระดับการ
ขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติอยู่ในระดับสูงมากเป็นล าดับแรก โดยมีร้อยละของการขับเคลื่อนฯ เท่ากับ 82.90
ซึ่งผลการวิจัยดังกล่าวเป็นผลมาจากการที่หน่วยงานมีการพัฒนาการให้บริการที่รวดเร็วโดยได้มีการน า
เทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ภายในหน่วยงาน ร่วมกับการพัฒนาระบบการให้บริการ เพื่ออ านวย
ความสะดวกในการบริการประชาชน ผู้ประกอบการ และภาคธุรกิจ โดยการปรับเปลี่ยนวิธีการท างาน
จากการท างานตามภารกิจที่กฎหมายก าหนด มาเป็นการให้บริการที่ให้ความส าคัญกับผู้มารับบริการ จึง
ส่งผลให้องค์ประกอบการยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางมีระดับการขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติอยู่ในระดับสูง
มากที่สุดเป็นล าดับแรก นอกจากนี้ ผลการวิจัยดังกล่าวยังพบว่า องค์ประกอบขนาดขององค์กร และการ
มีส่วนร่วมของภาคประชาชนมีระดับการขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติอยู่ในล าดับสุดท้าย โดยมีร้อยละของการ
ขับเคลื่อนฯ เท่ากับ 69.31 ซึ่งผลการวิจัยดังกล่าวเป็นเพราะหน่วยงานภาครัฐทั้งในส่วนกลาง และใน
ระดับภูมิภาค ยังขาดการส่งเสริมบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีความเข้มแข็ง เนื่องจากยัง
ไม่ได้มีการกระจายอ านาจเพื่อเพิ่มอิสระให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดบริการสาธารณะใน
ท้องถิ่นของตนเองอย่างเหมาะสม ซึ่งเป็นผลมาจากการหน่วยงานภาครัฐยังขาดแนวทางเพื่อการส่งเสริม
และสนับสนุนให้ภาคส่วนอื่น ๆ มีการพัฒนารูปแบบการบริการสาธารณะแบบประชารัฐที่ชัดเจน ส่งผล
ให้องค์ประกอบขนาดขององค์กร และการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนมีระดับการขับเคลื่อนสู่การ
ปฏิบัติอยู่ในล าดับสุดท้าย
โครงการวิจัยการติดตามการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติสู่การปฏิบัติ : 157
ยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและการพัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐ