Page 459 - kpi21298
P. 459
จากตารางที่ 6.24 และภาพประกอบที่ 6.24 พบว่า ความเหมาะสมของตัวชี้วัดในการ
ติดตามและประเมินผลการน าหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับ
รางวัลธรรมาภิบาลในประเทศไทยในรายองค์ประกอบหลักเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
มีระดับความเหมาะสมในการน าไปใช้เพื่อติดตามและประเมินผลการน าหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติ
ขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นอยู่ในระดับมาก (Mean = 4.49, S.D = 0.52, ระดับความเหมาะสม
= มาก) โดยเมื่อพิจารณาเป็นข้อ พบว่า มีระดับความเหมาะสมในการน าไปใช้เพื่อติดตามและ
ประเมินผลฯ อยู่ในระดับมากที่สุด 2 ตัวชี้วัด และมีระดับความเหมาะสมในการน าไปใช้เพื่อติดตาม
และประเมินผลฯ อยู่ในระดับมาก 2 ตัวชี้วัด โดยเรียงตามล าดับค่าเฉลี่ยระดับความเหมาะสมในการ
น าไปใช้จากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ตัวชี้วัด 4 : อปท.มีการน าข้อมูลไปใช้เพื่อตัดสินในทางการ
บริหารงานในองค์กรตนเอง (Mean = 4.61, S.D = 0.56, ระดับความเหมาะสม = มากที่สุด) ตัวชี้วัด
2 : อปท.มีระบบคอมพิวเตอร์ที่รองรับการด าเนินงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Mean = 4.59, S.D
= 0.58, ระดับความเหมาะสม = มากที่สุด) ตัวชี้วัด 1 : อปท.มีระบบการจัดเก็บฐานข้อมูล และใช้
ข้อมูลสารสนเทศเพื่อพัฒนาองค์กร (Mean = 4.49, S.D = 0.67, ระดับความเหมาะสม = มาก) และ
สุดท้ายได้แก่ ตัวชี้วัด 3 : อปท.มีการเชื่อมโยงข้อมูลภายในและเชื่อมโยงข้อมูลกับองค์กรภายนอก
(Mean = 4.28, S.D = 0.70, ระดับความเหมาะสม = มาก)
4. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลความเหมาะสมของตัวชี้วัดในการติดตามและประเมินผลการน า
หลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติจ าแนกตามองค์กรภาคเอกชน (ธุรกิจ) ในประเทศไทย
จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลความเหมาะสมของตัวชี้วัดในการติดตามและประเมินผลการ
น าหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติจ าแนกตามองค์กรภาคเอกชน (ธุรกิจ) ในประเทศไทยทั้งโดยรวม ราย
องค์ประกอบ และรายข้อ ที่ได้รับจากกลุ่มตัวอย่างผู้ตอบแบบสอบถามจ านวน 127 ตัวอย่าง พบว่า
ประกอบด้วยองค์กรภาคเอกชน (ธุรกิจ) ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ จ านวน 32 ตัวอย่าง คิด
เป็นร้อยละ 12.31 และประกอบด้วยองค์กรภาคเอกชน (ธุรกิจ) ที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
จ านวน 95 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 36.54 ซึ่งสามารถน าเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลจ าแนกตาม
ลักษณะของการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้ตามล าดับดังนี้
โครงการวิจัยพัฒนาฐานข้อมูลองค์ความรู้ด้านธรรมาภิบาล (Phase 2) 423