Page 246 - kpi21193
P. 246
ให้ความสำคัญกับการให้รางวัลจูงใจในการทำงานเพื่อส่งเสริมให้คนทำงานมีกำลังใจในการทำงานต่อ
ทั้งบุคลากรในองค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้วเอง และคนในชุมชน เช่น รางวัลคนดีศรีดอนแก้ว
นอกจากนั้นยังมีการกำหนดมาตรฐานในการทำงานเพื่อให้งานในแต่ละส่วนมีมาตรฐานการทำงาน
ในทิศทางเดียวกัน เน้นการทำงานเป็นทีมและการกระจายอำนาจให้กับผู้อำนวยการกองสามารถ
ตัดสินใจทำงานเพื่อให้เกิดความคล่องตัวผ่านกฏกติกาที่กำหนดร่วมกันในที่ประชุม ซึ่งหากมี
งานเร่งด่วนหรืองานพิเศษ องค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้วจะมีการตั้งทีมเฉพาะกิจที่เกิดจาก
การรวมตัวกันของคนในส่วนงานต่าง ๆ ขององค์การบริหารส่วนตำบลและภาคชุมชนที่เกี่ยวข้อง
และขอความร่วมมือจากหน่วยงานภายนอก เช่น สถาบันการศึกษา เข้ามาทำงานโดยเน้นที่ “สมรรถนะองค์กร” กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมท้องถิ่น
ความเหมาะสมกับงานมากกว่าโครงสร้างอย่างเป็นทางการขององค์กร
วิถีแห่งการเติบโต เป็นวิธีการที่องค์กรใช้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถขององค์กร ซึ่งประกอบ
ด้วย วิธีปฏิบัติในการเรียนรู้ขององค์กร วิธีปฏิบัติที่องค์กรใช้ในการเปลี่ยนแปลง และวิธีปฏิบัติของ
องค์กรในการบริหารความสามารถพิเศษของบุคลากร องค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้วมีการ
ส่งเสริมให้เกิดสภาพแวดล้อมของการเรียนรู้ร่วมกัน ทั้งจากการพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการในเวที
ข่วงกำกึ๊ด การทำงานข้ามสายงานภายในองค์การ การเปิดโอกาสให้หน่วยงานภายนอกเข้ามา
ร่วมกันพัฒนาชุมชน รวมทั้งการเปิดโอกาสให้คนในชุมชนเข้ามาร่วมแก้ไขปัญหาและประเมินผล
การทำงานร่วมกัน และผู้นำยังแสดงให้เห็นเป็นตัวอย่างในการลงมือทำงานที่มีความจำเป็นเร่งด่วน
และส่งผลกระทบต่อประชาชน โดยไม่ยึดติดโครงสร้างอย่างเป็นทางการขององค์กร
ส่วนที่ 2 การสร้างวัฒนธรรมองค์กร พบว่าในมุมมองของผู้บริหารและกลุ่มผู้ปฏิบัติงาน
มีความเห็นตรงกันคือวัฒนธรรมองค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้วเป็นแบบ Overgrown
Bureaucracy โดยกลุ่มผู้บริหารมีค่าคะแนนเฉลี่ยของวัฒนธรรมกลุ่ม Functionalization เท่ากับ
3.46 (Too High) และมีค่าคะแนนเฉลี่ยของวัฒนธรรมกลุ่ม Communalization เท่ากับ 3.42
(Too High) และสำหรับกลุ่มปฏิบัติการมีค่าคะแนนเฉลี่ยของวัฒนธรรมกลุ่ม Functionalization
เท่ากับ 3.56 (Too High) และมีค่าคะแนนเฉลี่ยของวัฒนธรรมกลุ่ม Communalization เท่ากับ ส่วนที่ 2 กรณีศึกษา
3.38 (Too High) รายละเอียดแสดงในตาราง
สถาบันพระปกเกล้า 2