Page 457 - kpi21190
P. 457

457



                       ทั้งนี้ “สังคมสมานุภาพ” สามารถเกิดขึ้นได้ด้วยการทำให้ “สังคม” มีขนาดใหญ่ขึ้นและ

                  อยู่ร่วมกับ “รัฐ” และ “ทุน” ให้ได้ โดยมีแนวทางสำคัญ 3 ประการ ได้แก่

                       1.  การเสริมสร้างพลังทางสังคม (empowerment) เป็นการเสริมสร้างให้ “สังคม”
                  มีพลังมากขึ้นด้วยการประสานหรือรวมตัวกันของเครือข่าย (Network) ภายในสังคม


                       2. การสร้างกระบวนการที่มีปฏิสัมพันธ์ (interactive processes) เมื่อ “สังคม”
                  มีขนาดใหญ่ขึ้นและมีพลังในการต่อรองมากขึ้น ควรสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่าง “รัฐ” “ทุน” และ
                  “สังคม” กระบวนการสร้างปฏิสัมพันธ์เป็นกระบวนการที่ก่อให้เกิดการยอมรับระหว่างกัน
                  โดย “ภาครัฐ” และ “ภาคทุน”เห็นความสำคัญและเปิดโอกาสให้ “สังคม” เติบโต


                       3. การสร้างกระบวนการก่อปัญญา (wisdom) สังคมจำเป็นต้องมีความฉลาดทาง
                  ปัญญาเพื่อค้นหาวิธีการในการเสริมสร้างพลังทางสังคมและเสริมสร้างกระบวนการที่มี
                  ปฏิสัมพันธ์กับ “ภาครัฐ” และ “ภาคทุน”

                       นอกจากนี้ การสร้าง “สังคมสมานุภาพ” ควรเริ่มต้นที่พื้นที่เล็ก ๆ ซึ่งอาจเป็นกลุ่มคน

                  ชุมชน หรือหมู่บ้าน เพื่อให้เกิดการระเบิดจากข้างใน โดยให้กลุ่มคน สมาชิกในชุมชน หรือ
                  สมาชิกในหมู่บ้านเป็นผู้กำหนดประเด็นปัญหาสำคัญของความเหลื่อมล้ำ หรือกลุ่มเป้าหมาย
                  ที่ได้รับผลกระทบจากความเหลื่อมล้ำในพื้นที่ ดังนั้น พื้นที่เล็ก ๆ ดังกล่าวควรมีองค์ความรู้
                  ประกอบกับมีความเป็นอิสระในการเริ่มต้นแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง มีเป้าหมายร่วมกันในพื้นที่

                  และมีการสื่อสารแลกเปลี่ยนกัน จากพื้นที่เล็ก ๆ แห่งหนึ่งมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับพื้นที่
                  เล็ก ๆ แห่งอื่นเกิดเป็นเครือข่ายและการขยายผลสู่วงกว้าง เพราะก่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้
                  เข้าใจ และลงมือทำในพื้นที่

                       กล่าวโดยสรุป ตัวแบบใหม่เพื่อการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำจากฐานล่าง (new

                  model from below)  โดยการสร้างสังคมสมานุภาพมีกลไกที่สำคัญสามประการ ได้แก่

                       1. พื้นที่ (area) การแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำหรือการสร้างสังคมสมานุภาพ
                  ควรเริ่มต้นที่หน่วยพื้นฐาน ซึ่งต้องมีองค์ความรู้ มีเป้าหมายร่วมกัน มีความเป็นอิสระ และ
                  พึ่งพาตนเองได้ อันเป็นการระเบิดจากข้างใน


                       2. วาระ (agenda) หน่วยพื้นฐานควรกำหนดวาระหรือประเด็นสำคัญของปัญหา
                  ความเหลื่อมล้ำในพื้นที่ในทุกมิติ ทั้งมิติทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เพศสภาพ ชาติพันธุ์
                  ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ฯลฯ


                       3. กลุ่มเป้าหมาย (actors) ได้แก่ กลุ่มบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากความเหลื่อมล้ำ
                  ในพื้นที่ อาทิ เด็ก สตรี ผู้ด้อยโอกาส กลุ่มชาติพันธุ์ และกลุ่ม LGBT เป็นต้น              สาระส้าคัญการแสดงปาฐกถาปิด
   452   453   454   455   456   457   458   459   460   461   462