Page 456 - kpi21190
P. 456

456



               นอกจากนี้ ความเหลื่อมล้ำยังมีหลายมิติทั้งมิติทางเศรษฐกิจ มิติสังคม มิติวัฒนธรรม มิติเชื้อชาติ

               มิติการเมือง และมิติกระบวนการยุติธรรม ปัญหาความเหลื่อมล้ำเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้น
               จึงมักประกอบไปด้วยหลายมิติควบคู่กัน ไม่ได้แยกมิติขาดออกจากกันอย่างชัดเจน
























                     ดังนั้นเมื่อความเหลื่อมล้ำเป็นเรื่องของความแตกต่างที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติในบางกรณี
               และโอกาสที่ทุกคนในสังคมจะมีความเท่าเทียมเหมือนกันทั้งหมดเป็นไปได้น้อยมาก จึงนำมาสู่
               คำถามที่ว่าคนในสังคมจะสามารถยอมรับและอดทนต่อความแตกต่างได้ในระดับใด และจะลด
               ช่องว่างความแตกต่างลงให้เหลือน้อยที่สุดได้อย่างไร


                     การค้นหาคำตอบเริ่มต้นด้วยการพิจารณาเกี่ยวกับข้อท้าทายของการเกิดความเหลื่อมล้ำ
               ในสังคม กล่าวคือ ความเหลื่อมล้ำเกิดจาก “รัฐ” หรือเรียกว่า “รัฏฐานุภาพ และ “ทุน” หรือ
               เรียกว่า “ธนานุภาพ” มีขนาดใหญ่ ขณะที่ “สังคม” มีขนาดเล็ก ซึ่งปรากฏการณ์เช่นนี้ก่อให้

               เกิด“สังคมสมานุภาพ” หรือสังคมที่สมาชิกมีความเท่าเทียมกันได้ค่อนข้างยาก














        สาระส้าคัญการแสดงปาฐกถาปิด
   451   452   453   454   455   456   457   458   459   460   461