Page 455 - kpi21190
P. 455
455
สาระสำค าร สดงปา าป ด
ารประชุมวิชา ารส า พระป เ ล้า
คร ้ง ่ ประ ำป
วุฒิสาร ตันไชย*
การแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำและการพัฒนาคุณภาพประชาธิปไตย
ไทยเป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยความมุ่งมั่นตั้งใจและยืนหยัดในการดำเนินการ
ให้ได้อย่างต่อเนื่อง ในช่วงระยะเวลาสามปีที่ผ่านมา พบว่า การพัฒนาคุณภาพ
ประชาธิปไตยไทยมักพัฒนาในเชิงโครงสร้างและกฎหมาย แต่ยังไม่ได้แก้ไขปัญหา
ที่เป็นฐานรากของสังคมไทย ซึ่งก็คือ ความเหลื่อมล้ำในสังคม ด้วยเหตุนี้ สถาบัน
พระปกเกล้าจึงจัดการประชุมวิชาการครั้งนี้ในหัวข้อ “ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ
สร้างคุณภาพประชาธิปไตย” ภายใต้ความเชื่อที่ว่า หากประชาชนคนไทยทุกคนสามารถ
เข้าถึงโอกาสได้อย่างเท่าเทียมกัน ระบบอุปถัมภ์จะลดลง และจะนำไปสู่การเมืองที่ดีขึ้น
ความเหลื่อมล้ำเกิดขึ้นทั้งโดยธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้น ความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้น
โดยธรรมชาติ อาทิ ความแตกต่างทางเพศ ความแตกต่างทางสรีระ และความแตกต่างทาง
เชื้อชาติ เป็นต้น ส่วนความเหลื่อมล้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น อาทิ ความไม่เท่าเทียมกันทางโอกาส
ความไม่เท่าเทียมกันในการเข้าถึงบริการของรัฐ และความไม่เท่าเทียมกันในการได้รับคุณภาพ
จากบริการของรัฐ เป็นต้น ตามมุมมองของศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ วะสี
ความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยมีสาเหตุมาจากปัญหาเชิงโครงสร้าง 5 ประการ ได้แก่ 1) ความเชื่อ
เรื่องกรรมทำให้เกิดการยอมรับ 2) การขาดจิตสำนึกของความเป็นธรรม 3) โครงสร้างสังคม
แนวดิ่งหรือตามลำดับชั้น 4) โครงสร้างทางเศรษฐกิจที่เป็นระบบทุนนิยม และ 5) โครงสร้าง
อำนาจรัฐที่ผู้กำหนดนโยบายและผู้จัดสรรงบประมาณกลายเป็นผู้กำหนดกติกาในสังคม
* ศาสตราจารย์, เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า