Page 24 - kpi21190
P. 24
24
กลุ่มย่อยที่ 2 : สร้างเสถียรภาพประชาธิปไตยเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ
ระบบการเมืองที่มีเสถียรภาพเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้ระบอบประชาธิปไตย
มีคุณภาพอย่างยั่งยืน หากระบบการเมืองไม่มีเสถียรภาพ ไม่สามารถมีพื้นที่ให้ภาคส่วนต่าง ๆ
เข้ามามีส่วนร่วมในระบบการเมืองได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรมแล้ว ย่อมมีแนวโน้มที่จะทำให้เกิด
ปัญหาความเหลื่อมล้ำสุดขั้วสูงในสังคม อันเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาประชาธิปไตยที่มี
คุณภาพให้หยั่งรากลึกลงในสังคม
ห้องประชุมกลุ่มย่อยที่ 2 เรื่อง “สร้างเสถียรภาพประชาธิปไตยเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ”
เชื่อมั่นว่า ระบบการเมืองที่มั่นคงและมีเสถียรภาพสามารถสร้างได้ผ่านการสร้างระบบการเมือง
ที่เอื้อให้ภาคส่วนต่าง ๆ สามารถเข้ามาเจรจาต่อรองเพื่อจัดสรรทรัพยากรได้อย่างเป็นธรรม
ห้องประชุมกลุ่มย่อยนี้จะเป็นการร่วมกันอภิปรายโดยผู้ทรงคุณวุฒิทั้งในด้านวิชาการและในด้าน
การปฏิบัติเพื่อมาร่วมวิเคราะห์กันว่า กลไกต่าง ๆ ของระบบการเมือง โดยเฉพาะภายใต้
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มีมุมมองในเรื่องการจัดสรรแบ่งปันอำนาจให้
กับภาคส่วนต่าง ๆ อย่างไร และกลไกต่าง ๆ ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวได้พยายามแก้ไข
ความเหลื่อมล้ำในทางการเมืองได้หรือไม่ ควรมีข้อเสนอแบบใดที่จะทำให้การเมืองไทยเป็นของ
คนไทยทุกคน โดยวิเคราะห์ทั้งในกลไกของสถาบันการเมืองและองค์กรตรวจสอบทางการเมือง
ระบบราชการ วัฒนธรรมทางการเมือง และพฤติกรรมทางการเมือง รวมทั้งองค์ประกอบอื่น ๆ
ที่เอื้อให้เกิดระบบการเมืองที่สามารถลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมให้กับสังคม
ไทย
ประเด็นในกลุ่มย่อยที่ 2
๏ สถาบันการเมืองและองค์กรตรวจสอบทางการเมืองเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ
๏ ระบบราชการเพื่อลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมในสังคม
๏ วัฒนธรรมทางการเมืองที่สามารถผลักดันให้เกิดความเสมอภาคทางสังคม
๏ พฤติกรรมทางการเมืองเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ
กลุ่มย่อยที่ 3 : ลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจด้วยประชาธิปไตยที่มี
คุณภาพ
ในสังคมโลกที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย มักจะมีระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
หรือแบบตลาดเสรีเป็นพื้นฐาน อันเป็นหลักการของระบอบการปกครองที่ควบคู่กันไป ซึ่ง
ลักษณะของระบบเศรษฐกิจดังกล่าวนี้เอกชนเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตและมีอำนาจเต็มในการ
ตัดสินใจทางเศรษฐกิจ จึงทำให้สามารถขับเคลื่อนความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และช่วยให้
รายได้เฉลี่ยของประเทศสูงขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน ก็ได้ทำให้เกิดช่องว่างของรายได้ประชากรที่